แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ Toxicoloty แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ Toxicoloty แสดงบทความทั้งหมด

วันศุกร์ที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

3,004 หนังสือชุดความรู้แมลงพาหะนำโรคและแมลงมีพิษ

โดยสำนักโรคติดต่อโดยแมลง กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข


เนื้อหาโดยละเอียดประกอบด้วย
-แมลงพาหะนำโรค
ยุงก้นปล่อง
ยุงลาย
ยุงรำคาญ
ยุงเสือ
แมลงสาบ
แมลงวัน
ริ้นฝอยทราย
เรือด
เหา
หมัด
เห็บ
แมลงวันเซ็ทซี
แมลงวันซิมูเลี่ยม แมลงริ้นดำหรือตัวคุ่น
เหลือบ
คิสซิ่งบักหรือมวนเพชรฆาต
ไรอ่อน
-แมลงมีพิษ
ด้วงก้นกระดก
ด้วงน้ำมัน
หนอนบุ้งหนอนร่าน
มดคันไฟ
ผึ่ง ต่อ แตน

ลิ้งค์ https://drive.google.com/file/d/0B8Zl4XfjQfmFdVB4VzViZkpXMDQ/view

วันพุธที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2557

2,949 Chinese restaurant syndrome

คือกลุ่มอาการที่เกิดในบางคนภายหลังจากที่รับประทานอาหารจีนที่ใส่สารปรุงแต่งอาหารคือโมโนโซเดียมกลูตาเมต (ผงชูรส) แต่ก็ยังไม่ได้รับการพิสูจน์แล้วว่าเป็นสารที่ทำให้เกิดสภาพเช่นนี้ โดยมีการกล่าวถึงกลุ่มอาการนี้ครั้งแรกเมื่อปี 1968 แต่หลายๆ การศึกษาก้ไม่สามารถแสดงถึงความเชื่อมโยงระหว่างกลุ่มอาการนี้กับโมโนโซเดียมกลูตาเมต หรืออาจจะเป็นไปได้ว่าในบางคนมีความไวต่อวัตถุปรุงแต่งอาหาร และโมโนโซเดียมกลูตาเมต ก็เป็นสารเคมีที่คล้ายสารเคมีที่สำคัญในสมองคือกลูตาเมต
โดยอาจจะมีอาการรู้สึกชาหรือแสบร้อนบริเวณปาก-ลิ้น รู้สึกหนักที่ใบหน้าหรือรู้สึกเหมือนหน้าบวม ปวดศรีษะ ปวดกล้ามเนื้อบริเวณโหนกแก้ม ต้นคอ หน้าอก หัวใจเต้นช้าลง หายใจไม่สะดวก ปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน เหงื่อแตก กระหายน้ำ นอกจากนี้บริเวณผิวหนังบางส่วนอาจมีผื่นแดงเนื่องจากเส้นเลือดรอบนอกบางส่วนขยายตัว การวินิจฉัยโดยใช้ลักษณะทางคลินิก และประวัติการรับประทานอาหารที่มีโมโนโซเดียมกลูตาเมตในช่วง 2 ชั่วโมงที่ผ่านมา
จะให้การรักษาตามอาการที่ผู้ป่วยมี แต่ส่วนใหญ่มักไม่ต้องให้การรักษาอะไร โดยอาการเหล่านี้จะหายเองภายในเวลา 2 ชั่วโมง หากไม่มีอาการแทรกซ้อนอื่น ๆ และควรเฝ้าระวังลักษณะที่อาจเกิดความรุนแรง เช่น อาการเจ็บหน้าอกใจสั่น หายใจหอบเหนื่อย คอบวม อาจตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจถ้ามีอาการใจสั่น

Ref: http://www.wongkarnpat.com/viewya.php?id=931#.VDU_1PmSyHM
http://www.nlm.nih.gov/medlineplus/ency/article/001126.htm

วันเสาร์ที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2557

2,925 การดูแลรักษางูที่มีพิษต่อระบบเลือด

วันนี้พบมีผู้ป่วยถูกงูกะปะกัดพบมี VCT prolong นานกว่า 30 นาที เกล็ดเลือดเหลือ 1,000 /mm3 จึงทบทวนเรื่องงูที่มีพิษต่อระบบเลือด

งูที่มีพิษต่อระบบเลือด ได้แก่ งูเขียวหางไหม้, งูแมวเซา
-งูเขียวหางไหม้: บวมมาก, ผิวหนังพอง ,ตกเลือด, จ้ำเลือด, หลอดเลือดดำอักเสบ มีธร็อมบัส พบได้ทุกภาค; พบบ่อยในกรุงเทพมหานคร
-งูกะปะ: บวม, ผิวหนังพอง และตกเลือดหลายแห่ง, จ้ำเลือด พบบ่อยบริเวณภาคใต้, และพบได้ในภาคตะวันออกและภาคเหนือ
-งูแมวเซา: อาการเฉพาะที่น้อยมาก พบได้ในนาข้าว พบบ่อยบริเวณภาคกลาง และภาคตะวันออก
โดยเซรุุม่แก้พิษงูรวมระบบโลหิตประกอบด้วยเซรุ่มแก้พิษงูระบบโลหิตทั้งชนิดในขวดเดียวกัน
 ข้อบ่งชี้ได้แก่ข้อใดข้อหนึ่งต่อไปนี้
 -มีภาวะเลือดออกผิดปกติ
-VCT หรือ WBCT นานมากกว่า 20 นาที
-เกล็ดเลือดต่ำกว่า 100,000/mm3
-มีภาวะไตวายเฉียบพลันในผู้ป่วยที่ถูกถูกงูแมวเซากัด

ปริมาณเซรุ่มทีใช้ขึ้นอยู่กับระความรุนแรงถ้าความรุนแรงปานกลาง (moderate) = 30 มล. ถ้ารุนแรงมาก (severe) = 50 มล.
การติดตามผู้ป่วย ติดตามภาวะเลือดออก และ VCT ทุก 6 ชั่วโมง หากยังมีภาวะเลือดออกหรือ VCT ยังผิดปกติ สามารถให้เซรุ่มแก้พิษงูซ้ำได้อีกจน VCT ปกติ หลังจากนั้นควรทำ VCT ซ้ำอีกประมาณ 24 ชั่วโมง โดยเฉพาะในผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงมาก เนื่องจากบางรายอาจพบว่า VCT กลับมาผิดปกติได้อีก เกิดจากพิษงูยังคงถูกดูดซึมจากตำแหน่งที่งูกัดเข้าสู่กระแสเลือดอีกจำเป็นต้องให้เซรุ่มแก้พิษงูซ้ำ

ผสมเซรุ่มในน้ำเกลือ NSS หรือ 5%D/N/2ให้เป็น 100-200 มล. ขึ้นอยู่กับน้ำาหนักตัวผู้ป่วยและความต้องการสารน้ำให้ทำการทดสอบการแพ้เซรุ่มก่อนโดย ช่วงแรกให้หยดเข้าทางหลอดเลือดดําช้าๆ เพื่อสังเกตอาการข้างเคียงที่เกิดจากแพ้เซรุ่มหากไม่มีอาการใดๆ ก็สามารถให้เร็วข้นให้หมดภายใน 30 นาที - 1 ชั่วโมง อาจทดสอบทางผิวหนัง (skin test) เพื่อทํานายว่าผู้ป่วยจะแพ้เซรุ่มหรือไม่ ได้ โดยฉีดเซรุ่มเจือจาง 1:100 ปริมาณ 0.02 มล. เข้าใต้ผิวหนังอย่างไรก็ตามการทดสอบนี้ ไม่สามารถคาดการณ์การเกิดอาการช็อคและ/ หรืออาการแพ้ ได้ทั้งหมดใน้ป่วยทุกรายและการทดสอบนี้ ไม่มีความสัมพันธ์กับการเกิดปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นจริงภายหลังให้เซรุ่ม

การป้องกันและแก้ไขภาวะแพ้เซรุ่มแก้พิษงู  ให้เตรียมยาแก้แพ้เซรุ่มแก้พิษงู ไว้ก่อนเสมอ
โดย ให่้ adrenaline 1:1,000 ผู้ใหญ่ ขนาด 0.5 มล. หรือ เด็ก ขนาด 0.01 มล. ต่อน้ำหนักตัว 1 กก.
ฉีดเข้าใต้ผิวหนัง (SC) หรือเข้ากล้ามเนื้อ(IM) เมื่อเกิดปฏิกิริยาแพ้เซรุ่ม

การให้ส่วนประกอบของเลือดทดแทนสำหรับผู้ป่วยที่มีเลือดออกผิดปกติ โดยทั่วไปไม่จำเป็น การให้เซรุ่มแก้พิษงูได้ผลดีมาก สามารถทำให้เลือดแข็งตัวและเลือดหยุดได้ แต่ในบางรายที่มีเลือดออกรุนแรงหรือเลือดออกในอวัยวะที่สำคัญ เช่น ในกะโหลกศีรษะ หรือภาวะที่คุกคามต่อชีวิต อาจจำเป็นต้องให้ส่วนประกอบของเลือดทดแทน ร่วมกับการให้เซรุ่มแก้พิษงู ในกรณีนี้ควรต้องส่งต่อผู้ป่วยไปรับการรักษาในโรงพยาบาลที่สามารถเตรียมส่วนประกอบของเลือดได้.

ส่วนประกอบของเลือดที่ควรใช้ ได้แก่ 
- เกล็ดเลือดเข้มข้น (platelet concentrate) ในรายที่มีเกล็ดเลือดต่ำ โดยให้ขนาด 1 ยูนิตต่อน้ำหนักตัว 10 กก.
- ไครโอพีซิบปิเตต (cryoprecipitate) เพื่อเพิ่มระดับไฟบริโนเจน โดยให้ครั้งละ 10-15 ถุง หากไม่มี cryoprecipitate อาจให้ fresh frozen plasma ครั้งละ 15 มล./ น้ำหนักตัว 1 กก.
- หากมีการสูญเสียเลือดมาก อาจจำเป็นต้องให้ packed red cell ทดแทนด้วย หากผู้ป่วยซีด

Ref: แนวทางการให้เซรุ่มแก้พิษงู (antivenom) กลุ่มงานอายุรกรรม รพ. พุทธชินราช จ. พิษณุโลก
http://www.doctor.or.th/clinic/detail/7931

วันศุกร์ที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2557

2,847 Scorpion envenomation

Review article
N Engl J Med   July 31, 2014

จะมีผู้ถูกแมงป่องพิษกัดมากกว่า 1 ล้านรายต่อปีจากทั่วโลก  ถึงแม้ว่าผลการเสียชีวิตจะต่ำกว่าจากพิษงู แต่ก็มีภาวะแทรกซ้อนความเจ็บป่วยที่สำคัญ, ในกลุ่มเด็ก, ก่อให้เกิดความเสี่ยงของการเสียชีวิต พิษแมงป่องเกือบจะทั้งหมดทำให้เกิดอาการปวดบริเวณที่ถูกต่อย
กลุ่มอาการของการกระตุ้นระบบประสาทแบบผสม (neuroexcitatory) ที่เป็นเอกลักษณ์ของแมงป่อง ซึ่งจะมีอาการแตกต่างกันไปในรูปแบบและความรุนแรงตามประเภทของแมงป่อง นอกจากนี้อาการเป็นพิษแบบ cytotoxic envenomation syndrome ได้รับการรายงานในพื้นที่ของอิหร่านที่มีแมงป่องชนิด Hemiscorpius lepturus อยู่ประจำถิ่น
ผู้ป่วยส่วนใหญ่มีอาการไม่มาก โดยมีอาการปวดเฉพาะที่และมีอาการทางระบบเพียงเล็กน้อย แต่อย่างไรก็ตามความรุนแรงอาการเป็นพิษเป็นปัญหาหลักทางสาธารณสุขในบางพื้นที่ของโลก ได้แก่ อเมริกากลางและอเมริกาใต้, แอฟริกาเหนือ, ตะวันออกกลางและเอเชียใต้
เนื้อหาโดยละเอียดประกอบด้วย
-Epidemiology
-Mechanisms of Envenomation and Pathophysiology
-Clinical Manifestations of Scorpion Stings
   General Characteristics
   Autonomic Effects
   Cardiovascular Effects
   Neurologic Effects
   Gastrointestinal Effects
   Cytotoxic Envenomation
   Clinical Grading
-Diagnostic Investigations
-Treatment of Stings and the Envenomation Syndrome
-Summary
-Source Information

อ้างอิงและอ่านต่อโดยละเอียด http://www.nejm.org/doi/full/10.1056/NEJMra1401108

วันเสาร์ที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

2,840 ความรู้ทางการแพทย์ พิษจากเห็ด

เนื้อหาโดยละเอียดประกอบด้วย
-ความเป็นมา
-ความเป็นพิษ
   1. สารพิษกลุ่ม protoplasmic poisons
   2. สารพิษกลุ่ม neurotoxin
   3. สารพิษกลุ่ม gastrointestinal irritants
-การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
-ข้อแนะนำในการรับประทานเห็ด
-การปฐมพยาบาลเบื้องต้น

Ref: http://www.dmsc-library.moph.go.th/ebooks/files/showimgpic%20(23).pdf

วันอาทิตย์ที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

2,834 ความรู้เรื่องแมงมุมพิษ

ตอนนี้มีข่าวว่ามีผู้ป่วยถูกแมงมุมพิษสีน้ำตาลกัดซึ่งมีอาการหนัก 
ถ้าสนใจอ่านความรู้เรื่องแมงมุมพิษลองศึกษาตามนี้นะครับ 
เนื้อหาโดยละเอียดประกอบด้วย 
1. แมงมุมแม่ม่ายดำ (black widow spider)
2. แมงมุมแม่ม่ายน้ำตาล (brown widow spider)
3. แมงมุมสันโดษสีน้ำตาล (brown recluse spider)
โดยในแมงมุมแต่ละชนิดจะประกอบด้วย
-อาการและอาการแสดง
-การรักษา

ลิ้งค์ http://www.dst.or.th/html/index.php?op=article-detail&id=1207&cid=7#.U8uxZfmSyHN

วันจันทร์ที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2557

2,697 คู่มือยาต้านพิษ 2556 ฉบับพกพา

โดยสมาคมพิษวิทยาคลินิก
โครงการเพิ่มการเข้าถึงยากำพร้ากลุ่มยาต้านพิษ: ประสานความร่วมมือพัฒนาศักยภาพหน่วยบริการอย่างต่อเนื่อง ประจำปี 2556
สนับสนุนโดย สำนักหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.)


เนื้อหาประกอบด้วย
-Snake antivenoms
-Atropine
-Pralidoxine (2-PAM)
-N-acetylcysteine (NAC)
-Sodium bicarbonate
-Polyethylene glycol electrolyte solution (PEG-ELS)
-ภาคผนวก
การใช้โปรแกรมยาต้านพิษ
คลินิกพิษจากสัตว์
ศูนย์พิษวิทยา ศิริราช
ศูนย์พิษวิทยา รามาธิบดี

ลิ้งค์ดาวโหลด https://docs.google.com/file/d/0B0ZXDkIX_xl1SWllaDk2RzNENE0/edit

วันอาทิตย์ที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2556

2,285 แนวทางการดูแลรักษาผู้ป่วยถูกงูพิษกัด

แนวทางการดูแลรักษาผู้ป่วยถูกงูพิษกัด
(Practice guideline for management of patients with venomous snake-bites) 

โดย ศ.นพ. พลภัทร โรจน์นครินทร์ 
ผศ.นพ. สุชัย สุเทพารักษ์

เนื้อหาโดยละเอียดประกอบด้วย
-ประเภทของงูพิษในประเทศไทย
-การวินิจฉัยภาวะงูพิษกัด
-การวินิจฉัยชนิดของงูที่กัด
-ตารางแสดง สถานที่ถูกงูกัดที่อาจบ่งชี้ชนิดของงู
-ตารางแสดงอาการเฉพาะที่ของงูชนิดต่างๆ
-การประเมินความรุนแรง และตารางแสดงความรุนแรงของงูที่มีพิษต่อระบบโลหิต
-การสังเกตอาการ
-การรักษาและการติดตามผลการรักษา ได้แก่ การรักษาทั่วไป การให้เซรุ่มต้่านพิษงู การรักษาสำหรับงูพิษเฉพาะกลุ่ม
-การป้องกันและการรักษาภาวะแทรกซ้อนของงูพิษกัด
-อ้างอิง

ลิ้งค์ http://www.saovabha.com/download/VichakarnSnake2011.pdf

วันพฤหัสบดีที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2556

2,188 Alcohol use in adults

Clinical practice
N Engl J Med      January 24, 2013

Key Clinical Points
-การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ตั้งแต่ 15 ดื่มมาตรฐาน (standard drink) ต่อสัปดาห์หรือตั้งแต่ 5 ดื่มมาตรฐานเป็นบางโอกาสสำหรับผู้ชาย หรือ 8 ดื่มมาตรฐานต่อสัปดาห์หรือตั้งแต่ 4 ดื่มมาตรฐานเป็นบางโอกาสสำหรับผู้หญิงและผู้ที่มีอายุมากกว่า 65 ปี จะสัมพันธ์กับความเสี่ยงจากอันตรายของแอลกอฮอล์
-การดื่มโดยมีระดับความเสี่ยงนี้อาจจะไม่มีอาการทางคลินิกได้ ซึ่งแพทย์ควรคัดกรองในผู้ใหญ่โดยใช้แบบสอบถามเกี่ยวกับการบริโภค
-เมื่อมีความสงสัยเกี่ยวกับความเสี่ยงของการดื่ม อย่างน้อยที่สุดแพทย์ควรที่จะประเมินรูปแบบการบริโภค, ผลกระทบ :ซึ่งรวมถึงปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวเนื่องกับแอลกอฮอล์และประเมินโดยใช้เกณฑ์ของการดื่มแบบเป็นอันตราย (alcohol-use disorder) และการเตรียมพร้อมที่จะเปลี่ยนแปลงการดื่ม
-การให้คำปรึกษาแนะนำแบบสั้น ๆ สามารถลดการดื่มแอลกอฮอล์และผลกระทบจากความเสี่ยงในผู้ยังไม่มีการติดแอลกอฮอล์ (without alcohol dependence)
-การให้การรักษาด้วยยาร่วมกับการให้คำปรึกษาทางการแพทย์แบบสั้นๆ สามารถลดการดื่มอย่างหนักในผู้ที่ติดแอลกอฮอล์แล้ว
-แพทย์ควรจะติดตามและจัดการความเสี่ยงของการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และความผิดปกติที่จะเกิดขึ้นในระยะยาว
เนื้อหาโดยละเอียดประกอบด้วย
-The Clinical Problem
   Remission and Recovery
-Strategies and Evidence
   Screening
   Assessment and Diagnosis
   Brief Interventions
   Supervised Withdrawal
   Specialty Treatment
   Pharmacotherapy
   Medical-Management Counseling
   Mutual Support Groups
   Continuing Care
-Areas of Uncertainty
-Guidelines
-Conclusions and Recommendations
-Source Information
-Key Clinical Points

Ref: http://www.nejm.org/doi/full/10.1056/NEJMcp1204714

วันพุธที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

1.468. EKG change in tricyclic antidepressant overdose

มีผู้ป่วยที่รับประทานยา  tricyclic antidepressant เกินขนาด จึงอยากรู้ว่า การเปลี่ยนแปลงคลื่นหัวใจจะมีอะไรบ้างนอกเหนือจากที่เราคุ้นเคย เช่น wide QRS หรือ prolong QT แล้วจะมีอะไรได้อีกบ้าง เพื่อเป็นการติดตามและให้การรักษา
จากการสืบค้นข้อมูลพบว่า EKG ที่อาจเป็นไปได้ ได้แก่
- Tachycardia
- Prolonged QRS
- Prolong QTc interval
- Rght axis deviation
- High R/S ratio in lead aVR
- Prominent S wave in lead 1
- Brugada pattern

ttp://www.bestbets.org/bets/bet.php?id=965
http://www.scribd.com/doc/52390964/521/TRICYCLIC-ANTIDEPRESSANT-EFFECT-ECG-FINDINGS

วันเสาร์ที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2554

1,285. พิษวิทยาอาชีพ ฉบับจัดทำ พ.ศ. 2554

พิษวิทยาอาชีพ ฉบับจัดทำ พ.ศ. 2554

โดยคุณหมอ วิวัฒน์ เอกบูรณะวัฒน์ และ สุทธิพัฒน์ วงศ์วิทย์วิโชติ
ผู้ใจดีแจกให้ครับ
หนังสือเล่มนี้รวบรวมแนวทางการดูแลรักษาผู้ป่วยที่ได้รับสารพิษ
ที่พบได้บ่อยจากการประกอบอาชีพ ชนิดต่างๆ


ลิ้งค์เพื่อดาวน์โหลด http://www.summacheeva.org/documents/book_2554_005.pdf

วันศุกร์ที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2554

1,265. การพันรัดแขน-ขาในกรณีที่ถูกงูกัด

การพันรัดแขน-ขาในกรณีที่ถูกงูกัด

อาจจะมีคำถามว่าถ้าสงสัยว่าเป็นงูมีพิษกัดควรจะรัดแขนขาหรือไม่? ถ้าทำต้องทำอย่างไรจึงจะถูกต้อง? จากแนวทางปฏิบัติการช่วยชีวิต ปี 2010 ได้เขียนไว้ว่า


CPR 2010 (ใหม่) การพันรัดแผลให้อยู่นิ่ง (pressure immobilization bandage) โดยใช้ความดันระหว่าง 40-70 มม.ปรอท สำหรับแขน และระหว่าง 55-70 มม.ปรอท สำหรับขา พันตลอดความยาวของแขนหรือขาที่โดนกัด นับเป็นวิธีที่ปลอดภัยและได้ผลในการลดการไหลเวียนของน้ำเหลือง (lymph flow) เพื่อลดการกระจายของพิษงู

ส่วน CPR 2005 (เก่า) ในฉบับปีค.ศ. 2005 นั้น แนะนำให้ใช้ การพันรัดแผลให้อยู่นิ่ง (pressure immobilization bandage) ดังกล่าว เฉพาะกับผู้ป่วยที่ถูกงูที่มีพิษต่อระบบประสาท (neurotoxic venom) กัดเท่านั้น

เหตุผล: มีการรายงานถึงผลดีที่เกิดจากการพันรัดแผลดังกล่าวข้างต้น ในผู้ป่วยที่ถูกงูพิษชนิดอื่นๆ (ในอเมริกา) กัดด้วย
 
เพิ่มเติม: จากรูปจะเห็นว่าเป็นการพันรัดตลอดความยาวของแขนหรือขาที่โดนกัดและใช้วัสดุดามเพื่อลดการเคลื่อนไหวอีกที ไม่ใช่แค่การรัดเหนือแผลเท่านั้น
 

Ref: สรุปแนวทางปฏิบัติการช่วยชีวิต ปี 2010

http://www.thaicpr.com/sites/default/files/guidelineHL-ver2.pdf

วันพฤหัสบดีที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

987. Paederus dermatitis

หญิง 30 ปี รู้สึกแสบแขนขวาเมื่อ 5 วันก่อน ต่อมาผื่นค่อยๆ แดงมากขึ้นเรื่อยๆ ดังภาพ ยังมีอาการแสบและคัน คิดถึงอะไร จะให้การรักษาอย่างไรครับ?


Paederus dermatitis เป็นการอักเสบของผิวหนังอย่างรุนแรงเมื่อผิวสัมผัสกับแมลงที่อยู่ใน genus Paederus โดยตามเนื้อเยื่อของแมลงชนิดนี้จะมีสารกลุ่ม pederin ซึ่งมีฤทธิ์ระคายเคืองสูงเมื่อสมัผัสถูกจะเกิดอาการแสบแดงคันอย่างมากแม้ว่าจะไม่ได้โดยกัดหรือต่อยก็ตาม. ในรายที่เป็นมากอาจเกิดการบวม พอง แตกเป็นแผล (ulceration) และเกิดการตามเชื้อแบคทีเรียซ้ำซ้อนได้. ลักษณะของรอยโรคมักพบเป็นแนวยาวตามทางที่แมลงบินผ่านหรือเกาะหรือเมื่อมีการตบหรือบี้กับผิวหนัง บางครั้งพบเป็นตุ่มหนองได้. โรคอาจเกิดขึ้นไม่พร้อมกัน โดยบริเวณที่สัมผัสมากจะเกิดอาการก่อน ในกรณีผู้ป่วยตัวอย่างรอยโรคมีลักษณะเป็น kissing lesion เกิดจากการพับของข้อศอกทำให้ผิวหนังสัมผัสตัวแมลงสองตำแหน่ง
การรักษา ให้การรักษาเหมือนกรณีถูกกรดหรือด่างรุนแรง โดยให้ล้างผิวหนังบริเวณที่สัมผัสด้วยน้ำและสบู่อ่อน แล้วทาด้วยครีม corticosteroid ชนิด high potency ในกรณีที่ขึ้นเป็นผื่นแดงและตุ่มพองแล้วต้องประคบตุ่มพองด้วยน้ำเกลือก่อน เมื่อตุ่มพอง ฝ่อตัวลงแล้วจึงทาครีมกลุ่ม corticosteroid ในกรณี เป็นมากอาจให้ systemic corticosteroid ได้ช่วงสั้นๆ ให้ยา antihistamine แก้การคัน ให้ยาแก้ปวดตามอาการได้ ในกรณีที่มีการติดเชื้อแบคทีเรียอาจให้ยา antibiotic cream ทาได้



วันอังคารที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2553

713. กำลังเตรียมการสอนเรื่อง Alcoholic withdrawal, ขอถามว่าลักษณะพฤติกรรมการดื่มสุราของมนุษย์เป็นอย่างไร

กำลังเตรียมการสอนเรื่อง Alcoholic withdrawal, ขอถามว่าลักษณะพฤติกรรมการดื่มสุราของมนุษย์เป็นอย่างไร (Drinker 's pyramid)

ปิรามิดพฤติกรรมการดื่มสุรา (Drinker 's pyramid)
Click ที่ภาพเพื่อขยายขนาด

วันศุกร์ที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2553

704. ตีนเป็ดน้ำ/Cerbara/Suicide Tree

ชาย 40 ปี รับประทานผลของต้นไม้นี้แล้วเกิดอาการอาเจียน หัวใจเต้นผิดจังหวะหัวใจเต้นช้าอย่างรุนแรง คิดว่าต้นไม้นี้คือ

ตีนเป็ดน้ำ Cerbara, also known as 'Suicide Tree' is plant
ไม่ได้เป็นแค่ไม้ประดับ หรือเป็นไม้พิษ ในความเป็นสมุนไพรก็มี สรรพคุณมากมายสารพัด เรียกว่า ใช้ได้ทุกส่วนเลยทีเดียว แต่ละท้องถิ่นเรียกชื่อของมันต่างกันไปจะเรียก ตีนเป็ด ( เฉยๆ ) ตีนเป็ดทะเล ตุ่ม สั่งลา มะตะกอ หรืออะไรก็แล้วแต่ ชื่อวิทยาศาสตร์ที่เ้ข้าใจตรงกัน คือ Cerbera odollum Gaerth. อยู่ในวงศ์ Apocynaceae บ้านเราพบตามชายหาด ริมน้ำ คลอง ห้วย ต่างๆ รวมทั้งแถบน้ำกร่อยด้วย ตีนเป็ดน้ำเป็นไม้ยืนต้น ผลัดใบ ขนาดสูง 3 - 8 เมตร ลำต้นแตกกิ่งต่ำๆ ใบเป็นรูปหอกแกมไข่กลับ ดอกเกิดตามปลายกิ่ง มีกลีบ 5 กลีบเชื่อมติดกันเป็นหลอด เวลาดอกบาน จะมีกลิ่นหอม ผลค่อนข้างกลมรี สีเขียวอ่อน เปลี่ยนเป็นสีม่วงตอนแก่จัด ออกดอก ออกผลเกือบ ตลอดทั้งปี ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดซึ่งฝังอยู่ในช่องที่มีเมือกของเนื้อ ปกติเขาจะใช้เปลือกเป็นยาถ่าย
ส่วนของผลและเมล็ดมีความเป็นพิษสูง
สรรพคุณอื่นๆ ที่มี คือ แก้ลม แก้อาเจียน เปลือกต้นเป็นยาถ่าย แก้นิ่ว แก้บิด ขับพยาธิ แก้ไข้ แก้หวัด หลอดลมอักเสบ สมานลำไส้ ส่วนแก่นมีรสเฝื่อน แก้อัมพาตทำให้อาเจียน แก้ริดสีดวงทวาร โลหิตพิการ ขณะเดียวกันก็มีฤทธิ์ต่อหัวใจ อาจเป็นได้ทั้งยาบำรุงหัวใจ หรือ ให้ผลตรงกันข้าม และัยังเป็นยาถ่ายทำให้แท้งได้ บางคนก็เอาไปใช้เบื่อปลา นอกจาก ที่ว่ามายังสามารถนำไปผลิตน้ำสกัดชีวภาพที่ออกฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียกอีกด้วย medication
เพิ่มเติม: ตีนเป็ดน้ำมีสารที่มีฤทธิ์ต่อหัวใจเรียกว่า “คาร์เบอริน” (cerberin) เป็นตัวยาโครงสร้างเดียวกับที่ใช้ในยากระตุ้นหัวใจ

วันอังคารที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

634. ชาย 61 ปี ถูกงูเขียวหางไหม้กัดมือซ้ายมา 1 วัน มือและแขนซ้ายบวม

ชาย 61 ปี ถูกงูเขียวหางไหม้กัดมือซ้ายมา 1 วัน มือและแขนซ้ายบวม ผลตรวจห้องปฎิบัติการดังข้างล่าง ก่อนให้เซรุ่มได้ทำ skin test พบว่า positive จะให้การดูแลรักษาต่ออย่างไร


- การทดสอบปฏิกิริยาต่อเซรุ่มแก้พิษงูอาจไม่จำเป็นต้องทำเนื่องจากขณะนี้ได้มีการพัฒนาการเตรียมได้เซรุ่มแก้พิษงูที่มีความบริสุทธิ์ค่อนข้างสูง และการทดสอบทาง ผิวหนัง (skin test) เพื่อทำนายว่าผู้ป่วยจะแพ้เซรุ่มหรือไม่นั้น ไม่มีความสัมพันธ์กับการเกิดปฎิกิริยาที่เกิดขึ้นจริงภายหลังให้เซรุ่ม เนื่องจากเป็นปฏิกิริยา anaphylactoid จากการกระตุ้นคอมพลีเมนท์ ไม่ใช่เกิดจาก IgE
- ต้องเตรียมยาแก้แพ้เซรุ่มแก้พิษงูไว้ก่อนเสมอ โดยใช้ adrenalin 1:1,000 ขนาด 0.5 มล. สำหรับผู้ใหญ่ หรือ 0.01 มล.ต่อน้ำหนักตัว 1 กก. สำหรับเด็ก ฉีดเข้าใต้ผิวหนังหรือเข้ากล้ามเนื้อ เมื่อเกิดปฏิกิริยาแพ้เซรุ่ม นอกจากนี้ อาจให้ยาต้านฮีสตามีนร่วมด้วย
- การให้ยาต้านฮีสตามีนหรือคอร์ติโคสตีรอยด์ก่อนการให้เซรุ่มแก้พิษงู ไม่สามารถป้องกันการเกิดปฏิกิริยาแพ้เซรุ่มได้

http://www.korathealth.com/buayai/snakebite.htm