แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ Laboratory แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ Laboratory แสดงบทความทั้งหมด

วันอาทิตย์ที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2558

3,296 ข้อควรทราบเรื่องการใช้ Alfa-fetoprotein (AFP) ในการวินิจฉัยมะเร็งตับ

เนื่องจาก AFP อาจตรวจพบมีระดับสูงผิดปกติได้จากหลายปัจจัย และระดับก็มีการเปลี่ยนแปลงตามการอักเสบของตับดังที่พบในภาวะตับอักเสบกำเริบจากการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีหรือซีเรื้อรัง รวมทั้งการตรวจวัด AFP มีความแม่นยำต่ำในการวินิจฉัยโรคมะเร็งตับ กล่าวคือ AFP ที่ระดับมากกว่า 20 นาโนกรัม/มล มีค่าความไวและความจำเพาะในการวินิจฉัยมะเร็งตับต่ำ และหากใช้ AFP ที่ระดับมากกว่า 200 นาโนกรัม/มล ในการคัดกรอง พบว่ามีค่าความไวเพียงร้อยละ 22 เท่านั้น แม้ว่ามีความจำเพาะสูงขึ้น จึงไม่แนะนำใหใช้การตรวจวัดระดับ AFP เป็๋นเครื่องมือในการวินิจฉัยโรคมะเร็งตับปฐมภูมิชนิด HCC

Ref: แนวทางการดูแลผู้ป่วยมะเร็งตับในประเทศไทย ปี พ.ศ. 2558

วันอังคารที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2558

3,284 สถานการณ์ความไวของเชื้อต่อยา ประเทศไทย ปี 2000- 2015

โดย National Antimicrobial Resistance Surveillance Center, Thailand
เชื้อที่สำคัญได้แก่ 
-Enterococcus spp
-S. pneumoniae
-Staphylococcus spp.
-E. coli
-K. pneumoniae
-Non-typhoidal Salmonella isolated from Blood
-Non-typhoidal Salmonella isolated from Stool & Rectal swab
-Acinetobacter spp.
-P. aeruginosa

ลิ้งค์ http://narst.dmsc.moph.go.th/data/AMR2000_2015.pdf

วันอาทิตย์ที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2558

3,282 คู่มือการปฏิบัติงานแบคทีเรียและรา สำหรับโรงพยาบาลศูนย์และโรงพยาบาลทั่วไป

จัดทำโดย 
สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข  กรมวิทยาศาสตร์ก่รแพทย์  กระทรวงสาธารณสุข
ศูนย์ความร่วมมือไทย-สหรัฐ ด้านสาธารณสุข



วันเสาร์ที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

วันศุกร์ที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

3,109 คู่มือการใช้ตู้ชีวนิรภัยอย่างถูกต้องปลอดภัย

โดยสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข



วันจันทร์ที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2558

วันอาทิตย์ที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2558

3,062 คู่มือการตรวจวิเคราะห์ชนิดและปริมาณฮีโมโกลบิน

จัดทำโดยคณะกรรมการจัดทำคู่มือการตรวจวิเคราะห์ชนิดและปริมาณฮีโมโกลบิน
ศูนย์วิจัยทางคลินิก กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
เนื้อหาโดยละเอียดประกอบด้วย
บทที่ 1 การตรวจวิเคราะห์ชนิดและปริมาณฮีโมโกลบิน
บทที่ 2 การตรวจวเคราะห์ฮีโมโกลบินผิดปกติทางห้องปฏิบัติการ
บทที่ 3 การแปลผลการตรวจวินิจฉัยธาลัสซีเมียและฮีโมโกลบินผิดปกติ ทางห้องปฏิบัติการ
ภาคผนวก ตารางผลการตรวจทางโลหิตวิทยาเบื้องต้น ในพาหะและผู้ป่วยธาลัสซีเมยชนิดต่างๆ

ลิงค์ http://webdb.dmsc.moph.go.th/thalassemia/Hb_Manual_2010.pdf

วันศุกร์ที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2557

2,982 Urinalysis: case presentations for the primary care physician

Am Fam Physician
2014 Oct 15;90(8):542-547

การตรวจปัสสาวะมีประโยชน์ในการวินิจฉัยโรคเชิงระบบและระบบสืบพันธุ์ ในผู้ป่วยที่สงสัยว่ามีเลือดออกทางปัสสาวะที่ต้องตรวจด้วยกล้องจุลทรรศน์ (microscopic hematuria) การใช้แถบตรวจสนับสนุนการมีเลือด แต่ผลที่ได้ควรจะได้รับการยืนยันด้วยการตรวจโดยใช้กล้องจุลทรรศน์ ในกรณีที่ไม่มีสาเหตุที่ชัดเจนการประเมินเลือดออกทางปัสสาวะที่ต้องตรวจด้วยกล้องจุลทรรศน์ควรรวมถึงการตรวจการทำงานของไต (renal function) การถ่ายภาพทางเดินปัสสาวะและการส่องกล้่องตรวจกระเพาะปัสสาวะ (cystoscopy) ในผู้ป่วยที่มีใส่ขดลวดท่อไต, การตรวจปัสสาวะเพียงอย่างเดียวไม่สามารถให้การวินิจฉัยการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ การตรวจเอ็กซ์เรย์ไต, ท่อปัสสาวะและกระเพาะปัสสาวะสามารถระบุถึงการใส่ขดลวดและเป็นที่ต้องการมากกว่าการตรวจด้วยเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ การติดเชื้อแบคทีเรียในทางเดินปัสสาวะที่ไม่มีอาการ (asymptomatic bacteriuria) คือการตรวจพบว่ามีแบคทีเรียในตัวอย่างปัสสาวะที่เก็บอย่างเหมาะสมจากบุคคลที่ไม่มีอาการของการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ การรักษาการติดเชื้อที่ไม่มีอาการจะไม่แนะนำในผู้ใหญ่ที่ไม่ได้ตั้งครรภ์รวมถึงผู้ที่มีใส่สายสวนปัสสาวะเป็นเวลานาน

Ref: http://www.aafp.org/afp/2014/1015/p542.html

วันอาทิตย์ที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2557

2,973 คำแนะนำในการเจาะเลือดตรวจดูการทำงานของตับในผู้ป่วยที่รับประทานยาวัณโรค

ยาที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดตับอักเสบได้แก่ H, R และ Z ส่วนกรณีที่มีเฉพาะค่า bilirubin สูงขึ้นโดยไม่มีความผิดปกติของเอมไซม์ SGOT, SGPT มักเกิดจากยา R
คำแนะนำในการตรวจเลือดตรวจการทำงานของตับ
1. ก่อนเริ่มให้ยา 
ผู้สูงอายุมากกว่า 60 ปี, ดื่มสุราประจำ, มีประวัติเป็นโรคตับหรือมีไวรัสตับอักเสบ, ติดเชื้อเอชไอวี, มีภาวะทุพโภชนาการ และหญิงตั้งครรภ์
2. ระหว่างให้ยา
-ในผู้ที่ไม่มีความเสี่ยง ตรวจ AST/ALT และ total bilirubin เฉพาะกรณีที่มีอาการสงสัยตับอักเสบ
-ในผู้ที่ไม่มีความเสี่ยง  ตรวจ AST/ALT และ total bilirubin ทุก 1-2 สัปดาห์ภายใน 1 เดือนแรก หลังจากนั้นพิจารณาตามความเหมาะสม
3. เมื่อผู้ป่วยมีอาการคลื่นใส้อาเจียน
-ผู้ป่วยทุกรายที่มีอาการคลื่นไส้หรืออาเจียนให้ตรวจเลือด
-ถ้า AST/ALT น้อยกว่า 3 เท่าของค่าปกติให้หยุดยา H, R และ Z
-ถ้า AST/ALT ตั้งแต่ 3 เท่าของค่าปกติให้รับประทานยาต่อ สืบค้นสาเหตุอื่นและติดตามหน้าที่การทำงานของตับภายใน 3 วัน
4. เมื่อผลเลือดผิดปกติโดยไม่มีอาการขณะได้รับยา
-ถ้า total bilirubin มากกว่า 3 มก./ดล. แต่ AST/ALT อยู่ในเกณฑ์ปกติหรือเพิ่มไม่เกิน 3 เท่าหยุดเฉพาะ R
-ถ้่า AST/ALT น้อยกว่า 5 เท่าของค่าปกติ ให้รับประทานยาต่อ เจาะเลือดดูการทำงานของตับทุก 1 สัปดาห์
-ถ้า AST/ALT มากกว่า 5 เท่าของค่าปกติหยุดยา H, R และ Z
5. ในกรณี re-challenge ยา
-ถ้าเป็น fulminant hepatitis ห้ามใช้ยาในกลุ่มนี้อีก
-เมื่อ AST/ALT ลดลงจนน้อยกว่า 2 เท่าของค่าปกติและ total bilirubin ลดลงจนน้อยกว่า 1.5 มก./ดล.
-เรียงการให้ยาจาก H, R และ Z ตามลำดับ
-ให้เริ่มจากขนาดยาปกติได้เลย
-หลังการให้ยาแต่ละชนิด เจาะเลือดดู AST/ALT และ total bilirubin ภายใน 1 สัปดาห์ ถ้าไม่พบความผิดปกติ จึงเริ่มยาตัวต่อไปได้
-ระหว่าง re-challenge ถ้าค่า AST/ALT หรือ total bilirubin กลับสูงขึ้นตามเกณฑ์ที่กล่าวไว้
ก่อนหน้าให้หยุดยาและไม่กลับมาให้ยานี้อีก

Ref: แนวทางการดำเนินงานควบคุมวัณโรคแห่งชาติ พ.ศ. 2556

วันพุธที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2557

2,948 Ultrasound elastography (fibroscan)

เป็นเครื่องตรวจดูสภาพการเกิดพังผืดในเนื้อตับ  (liver stiffness [fibrosis]) ใช้หลักการโดยจับความเร็วของคลื่นเสียงที่ส่งออกไปกระทบกับเนื้อตับและประเมินค่าความนิ่มหรือแข็งของตับออกมาโดยใช้หลักว่าถ้าตับเริ่มแข็งคลื่นเสียงที่สะท้อนกลับจะเดินทางได้เร็วค่าที่ได้จะสูงซึ่งมีหน่วยวัดเป็น kPa(กิโลพาสคาล)  แล้วประเมินในลักษณะระยะของผังผืด โดยเครื่องตรวจนี้มีความสามารถในการวินิจฉัยโรคตับแข็ง (cirrhosis) ในระยะแรกๆ ได้ ผลที่ได้จากการตรวจ fibroscan จะช่วยในการพยากรณ์โรคแทรกซ้อน เพื่อติดตามผล และประเมินโรคที่เป็น โดยไม่เกิดความเจ็บปวดกับร่างกาย  ลดอัตราการแทรกซ้อนของการเจาะตับได้ และยังลดค่าใช้จ่ายต่างๆ ในการนอนโรงพยาบาลอีกด้วย ผลที่ได้เป็นตัวเลข ตั้งแต่ 1.5 ถึง 75 kPa   ซึ่งแพทย์จะแปลผลจากการตรวจวัด โดยค่าที่มากกว่า 12.5 kPa บ่งชี้ถึงการมีตับแข็ง แต่อาจจะประเมินในผู้ทีเกิดผังผืดมากๆ แล้ว ได้ต่ำกว่าความเป็นจริงหรือในกรณีที่เป็นตับแข็งชนิด macronodular ว่าไม่ได้เป็นตับแข็ง หรืออาจจะประเมินมากกว่าความเป็นจริงใน extrahepatic cholestasis หรือ acute hepatocellular injury

Ref: http://www.thailiverfoundation.org/th/cms/detail.php?id=100
http://www.medscape.com/viewarticle/704170

2,947 ข้อควรทราบเรื่อง troponin ในการวินิจฉัย acute coronary syndrome ( ACS)

การเพิ่มขึ้นเฉพาะ troponin ยังไม่สามารถบอกได้ว่าเกิดจากกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด เพราะ troponin สามารถขึ้นได้ในภาวะหัวใจเต้นเร็ว, ความดันโลหิตต่ำ, ความดันโลสูง, การบาดเจ็บต่อหัวใจ, ภาวะหัวใจล้มเหลวเฉียบพลัน, กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบและเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ, ลิ่มเลือดอุดตันหลอดเลือดของปอด, ภาวะรุนแรงที่ไม่ได้เกิดจากหัวใจ เช่น การติดเชื้อแบคทีเรีย, ถูกไฟใหม้, ภาวะการหายใจล้่มเหลว, โรคของระบบประสาทเฉียบพลัน, พิษจากยา (รวมถึงยาเคมีบำบัด) การสูงขึ้นของ troponin อย่างเรื้อรัง สามารถเกิดจากสภาวะโครงสร้างของหัวใจที่ผิดปกติ เช่น ผนังหัวใจห้องล่างซ้ายหนา หรือป่องขยายตัว และยังพบได้บ่อยในผู้ที่การทำงานของไตลดลง ผู้ป่วยที่มีภาวะไตวายระยะสุดท้ายและไม่มีหลักฐานทางคลินิกของโรคหลอดเลือดหัวใจเฉียบพลัน ซึงจะพบได้ใน troponin T มากกว่า troponin I
การเพิ่มขึ้นควรประกอบกับการมีอาการของภาวะหัวใจขาดเลือดและการเปลี่ยนแปลงของคลื่นไฟฟ้าหัวใจ การเกิดภาวะขาดหัวใจขาดเลือดซ้ำจะสนับสนุนโดยพบการเพิ่มมากกว่า 20% ของระดับ troponin ก่อนหน้านั้น หรือการเพิ่มขึ้นของ  high-sensitivity cardiac troponin T values (เช่น มากกว่า 7 ng/L ในช่วง 2 ชม.) ในระหว่างตั้งครรภ์จะมีค่าปกติถ้าไม่มีโรคของหลอดเลือดหัวใจ ซึ่งยังเป็นที่โต้แย้งถึงระดับ  troponin ที่เพิ่มขึ้นใน pre-eclampsia, eclampsia หรือ gestational hypertension
ผู้ป่วยที่มี troponin ขึ้นจะช่วยบ่งถึงการดูแลรักษาโดยมีความเสี่ยงสูงขึ้นและได้ประโยชน์จากการให้การรักษาอย่างใกล้ชิดด้วยการให้เกิดการกลับมามีการใหลเวียนอีกครั้ง (revascularization) และการเพิ่มขึ้นมีความสัมพันธ์กับขนาดของการขาดเลือดและการเสียชีวิต

Ref: 2014 AHA/ACC Guideline for the Management of Patients With  Non–ST-Elevation Acute Coronary Syndromes 

วันพฤหัสบดีที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2557

2,934 ข้อควรทราบเรื่องการส่งตรวจเพื่อการวินิจฉัยภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก

ในการวินิจฉัยภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก มีหลายวิธี แต่การตรวจเฟอริตินในซีรั่ม (serum ferritin) ในปัจจุบันคือการทดสอบที่มีประสิทธิภาพและค่าคุ้มค่ามากที่สุดได้รับข้อบกพร่องของการทดสอบอื่น ๆ ช่วยลดจุดอ่อนหรือข้อด้อยของการตรวจอื่นๆ
-Mean corpuscular volume MCV จะต่ำในภาวะขาดธาตุเหล็กอย่างรุนแรง แต่ถ้ามีภาวะอื่นร่วมด้วย เช่น โรคตับจะทำให้การมีขนาดเล็กของเม็ดเลือดแดงลดลง
-Reticulocyte hemoglobin จะต่ำทั้งในโรคโลหิตจางขาดธาตุเหล็กและธาลัสซี และยังลดลงยังมีภาวะซีดจากขบวนการอักเสบ ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงการจำกัดการกระจายธาตุเหล็กในการพัฒนาเซลล์เม็ดเลือดแดง
-Serum iron จะต่ำในภาวะโลหิตจางจากขบวนการอักเสบและสูงขึ้น (falsely elevated) ในกรณีรับประทานธาตุเหล็ก
-การเพิ่มขึ้นของ total iron-binding capacity (TIBC) มีความจำเพาะต่อภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก แต่การที่ TIBC ลดต่ำลงในกรณีที่มีการอักเสบ, ผู้สูงอายุ, ทุพภโพชนาการ จึงมีความไวต่ำ
-Iron saturation จะต่ำทั้งในภาวะซีดจากการขาดธาตุเหล็กและภาวะโลหิตจางจากขบวนการอักเสบ
-Serum soluble transferrin receptor  จะเพิมขึ้นในผู้ป่วยที่มีภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก และไม่มีผลจากภาวะซีดจากขบวนการอักเสบ แต่อย่างไรก็ตามระดับจะเพิ่มขึ้นในผู้ป่วยที่มีสภาะวะใด ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเพิ่มขึ้นของมวลของเซลล์เม็ดเลือดแดงเช่น ภาวะโลหิตจางจากเม็ดเลือดแแดงแตก (hemolytic anemias) และในผู้ป่วยมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิด chronic lymphocytic leukemia
-การย้อมสีไขกระดูกเหล็กเป็นวิธีที่ให้ความถูกต้องที่สุดของการวินิจฉัยภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก แต่เป็นกาตรวจที่รุกล้ำและมีราคาแพง

Ref: http://www.nejm.org/doi/full/10.1056/NEJMra1215361

วันจันทร์ที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2557

2,814 ข้อควรทราบเกี่ยวกับการใช้ CK, CK-MB ในการตรวจวินิจฉัยภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตาย

Creatine kinase (CK) หรือ อีกชื่อหนึ่งคือ creatine phosphokinase (CPK)  CK ชนิดที่พบมากที่หัวใจ คือ CK-MB  และหากเรานำอัตราส่วนของ CK-MB/total CK มีค่ามากกว่า 1/20 (มากกว่าร้อยละ 5 ของ total CK) จะช่วยบ่งชี้ว่าผู้ป่วยอาจมีภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตาย แต่อย่างไรก็ตาม CK-MB ก็ยังสามารถพบได้ในโรคหรือความผิดปกติของกล้ามเนื้อลายของอวัยวะอื่นๆ ด้วยเช่นกัน แต่มักจะไม่สูงเกิน 3-4% ของ total CK ดังนั้นระดับ CK-MB ที่สูงขึ้นจึงไม่จำเพาะต่อพยาธิสภาพของกล้ามเนื้อหัวใจแต่เพียงอย่างเดียว โดยปกติทางห้องปฏิบัติการควรตรวจหา CK-MB ก็ต่อเมื่อตรวจพบระดับ total CK เพิ่มขึ้นก่อน ระดับ CK-MB จะขึ้นหลังการกล้ามเนื้อหัวใจตายได้ในเวลา 2-3 ชม. ถึงระดับสูงสุดในเวลา 12-24 ชม. และอยู่นานประมาณ 48-72 ชม. (ค่าต่างๆ เหล่านี้อาจแตกต่างกันบ้างตามแต่ละอ้างอิง)
พบว่าการตรวจวัดระดับ CK-MB แบบต่อเนื่อง (serial CK-MB) ในเวลา 12 ชั่วโมงหลังจากผู้ป่วยเริ่มมีอาการจะช่วยเพิ่มความไวและความจำเพาะในการวินิจฉัยให้มากขึ้นเมื่อเทียบกับการตรวจเพียงครั้งเดียว
และแม้ในปัจจุบันจะมี cardiac biomarker ที่นำมาช่วยในการวินิจฉัยภาวะหัวใจขาดเลือดได้ดีกว่า เช่น cardiac troponin แต่ก็มีหลักฐานที่แสดงว่าการใช้ cardiac troponin ร่วมกับ CK-MB mass จะช่วยเพิ่มความไวในการตรวจวิเคราะห์โรคและเพิ่มความคุ้มค่าในด้านค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาผู้ป่วย ส่วนใน unstable angina  ค่า CK และ CK-MB จะอยู่ในเกณฑ์ก้ำกึ่ง

เพิ่มเติม
CK มี 3 ชนิดย่อย (isoenzyme) คือ
1. CK-MB(cardiac type) พบมากที่กล้ามเนื้อหัวใจ
2. CK-MM(muscle type) พบมากที่กล้ามเนื้อลาย
3. CK-BB (brain type) พบมากที่สมอง
ขณะนี้มีการตรวจวัด CK-MB ได้เป็น 2 ลักษณะคือ CK-MB activity และ CK-MB mass (concentration) ซึ่งปัจจุบันการวัด CK-MB mass ได้รับความนิยมมากกว่าเนื่องจากสามารถตรวจวัดได้แม้มีระดับต่ำมาก และมีความจำเพาะต่อเซลล์กล้ามเนื้อหัวใจมากกว่า

Ref: http://www.slideshare.net/UtaiSukviwatsirikul/principles-of-pharmacotherapy-in-ischemic-heart-diseases-56-01-15
https://www.facebook.com/permalink.php?id=264011650390317&story_fbid=279454645512684
แนวทางเวชปฏิบัติการวินิจฉัยและรักษาโรคหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน สำนักพัฒนาวิชาการแพทย์
กรมการแพทย์  กระทรวงสาธารณสุข

วันอาทิตย์ที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2557

2,718 ข้อควรทราบเกี่ยวกับเอ็นไซม์อะไมเลส (amylase)

เอ็นไซต์อะไมเลส (amylase) เป็นเอ็นไซต์สำหรับย่อยคาร์โบไฮเดรต โดยทำหน้าที่ไฮโดรไลซ์โพลีแซคคาไรด์ให้เป็นน้ำตาลโมเลกุลเดี๋ยว สามารถสร้างจากเซลล์ของตับอ่อน และจากต่อมน้ำลาย ในภาวะตับอ่อนอักเสบเฉียบพลัน (ทั้ง inflammation และ infection) จะพบว่าอะไมเลสจะเริ่มสูงขึ้นภายใน 6 - 12 ชม. เมื่อเริ่มมีตับอ่อนอักเสบ และอยู่ในเลือดได้ประมาณ 3-5 วัน (บางอ้างอิง 2-3 วัน) โดยค่าปกติของเอนไซม์อะไมเลสในเลือด อยู่ระหว่าง 28 - 100 ยูนิต/ลิตร บางอ้างอิง  30-150 ยูนิต/ลิตร หรือแตกต่างจากนี้ได้บ้าง โดยเฉพาะถ้าค่าเพิ่มขึ้นมากกว่า 5 เท่าของค่าปกติสูงสุดบ่งบอกถึงการมีพยาธิสภาพที่ตับอ่อน อะไมเลสยังสามารถขับออกทางไตจึงตรวจพบได้ด้วยจากการตรวจปัสสาวะ แต่ในบางกรณีอาจพบอะไมเลสสูงขึ้นในเลือดได้โดยไม่เป็นโรคตับอ่อนอักเสบหรือมีตับอ่อนอักเสบแต่พบว่าค่าอะไมเลสในเลือดปกติก็ได้ เช่น
 -ภาวะที่มีอะไมเลสในเลือดสูงโดยไม่มีตับอ่อนอักเสบ สามารถพบได้ใน parotitis,  salpingitis, tumor ของ papillary, intestinal infarction, PU perforation , ectopic  pregnancy, dissecting aortic aneurysm,  renal failure,  macroamylasemia เป็นต้น
 -ภาวะที่มีตับอ่อนอักเสบโดยที่ระดับอะไมเลสอาจปกติ ได้แก่ hypertriglyceridemia, acute attack on top chronic pancreatitis, fatal  pancreatitis เป็นต้น
ยาที่อาจทำให้ระดับอะไมเลสในเลือดสูงขึ้นได้แก่
asparaginase, aspirin, birth control pills, cholinergic medications, ethacrynic acid, methyldopa, opiates (codeine, meperidine, morphine), thiazide diuretics

Ref: http://med.mahidol.ac.th/med/sites/default/files/public/pdf/medicinebook1/Approach%20to%20patient%20with%20acute%20pancreatitis.pdf
http://ucsdlabmed.wikidot.com/chapter-6-laboratory-diagnosis-of-pancreatic-disease
http://www.nlm.nih.gov/medlineplus/ency/article/003464.htm
http://en.wikipedia.org/wiki/Amylase

วันอาทิตย์ที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2556

2,517 ที่มาของการคำนวนระดับน้ำตาลเฉลี่ยเพื่อเปลียนเป็นระดับ HbA1c

เดิม Diabetes Control and Complications Trial (DCCT) ได้ทำการศึกษาและตีพิมพ์ลงใน New Engl J Med 1993;329:977-986 โดยได้ทำการศึกษาผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1 จำนวน 1,439 คน ซึ่งใช้การเจาะน้ำตาลปลายนิ้ว 24 ชั่วโมง, 7 ช่วงเวลาของวัน ได้แก่ช่วงก่อนอาหาร 90 นาทีหลังอาหารและก่อนนอน  เป็นเวลา 3 เดือน พบว่าได้ความสัมพันธ์คือ ระดับน้ำเฉลีย (mg/dL) = ( 35.6 x HbA1c ) - 77.3) โดยมี Pearson correlation coefficient (r) of 0.82
ต่อมามีการศึกษาซึ่งสนับสนุนโดย DA, EASD และ IDF และได้ตีพิมพ์ลงใน Diabetes Care 2008;31:1-6 โดยทำการศึกษาในทั้งผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1 และชนิดที่ 2 และผู้ที่ไม่เป็นเบาหวาน จำนวน 507 คน จาก 10 ศูนย์การแพทย์ โดยการใช้ระดับน้ำเฉลียจากการติดตามระดับน้ำตาลต่อเนื่อง 4 ครั้งต่อวันเป็นเวลาอย่างน้อย 2 วัน ร่วมกับการที่ผู้ป่วยเจาะระดับน้ำตาลด้วยตนเอง 7 ครั้งต่อวันอย่างน้อย 3 วัน/สัปดาห์ พบความสัมพันธ์ดังนี้ = (28.7*HbA1c)-46.7 โดย r2=0.84 ซึ่งเมื่อเราได้ระดับน้ำตาลสะสมเฉลี่ยของผู้ป่วยแล้วก็สามารถนำมาเข้าสูตรและคำนวนออกมาได้หรือจะเทียบกับตารางตามในอ้างอิงก็ได้ครับ

Ref: http://www.ngsp.org/A1ceAG.asp

วันเสาร์ที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2556

2,516 คู่มือการตรวจโรคหนอนพยาธิ

คู่มือการตรวจโรคหนอนพยาธิ
กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข

อาจจะเก่าหน่อยแต่คิดว่ามีประโยชน์ครับจึงอยากแนะนำ


วันเสาร์ที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2556

2,503 ความสำคัญของ lactate ในภาวะ sepsis และ septic shock

Lactate เป็น maker ของสภาวะที่เซลขาดออกซิเจน (cellular hypoxia) ซึ่งขบวนการ glycolysis ที่เกิดขึ้นใน cytoplasm ซึ่งอยู่นอก mitochondria  ภายใต้สภาวะ anaerobic จะได้ผลิตภัณฑ์สุดท้าย คือ lactate รวมถึงการกำจัดออกของไตและตับลดลงก็จะทำให้มีการคั่งค้างมากยิ่งขึ้น
พบว่าระดับที่มากกว่า 4 มิลลิโมล/ลิตร พบว่ามีอัตราการเสียชีวิต 27% ถ้าอยู่ระหว่าง 2.5-4 มิลลิโมล/ลิตร มีอัตราการเสียชีวิต 7% เมื่อเปรียบเทียบกับผู้ที่มีระดับน้อยกว่า 2.5 มิลลิโมล/ลิตร จะมีอัตราการเสียชีวิตอยู่ที่น้อยกว่า 5%
ผู้ที่มีระดับต่ำกว่า  2.5 มิลลิโมล/ลิตร มีค่าครึ่งชีวิตประมาฯ 20 นาที แต่ในภาวะ sepsis หรือ septic shock จะมี lactate สูงอยู่อย่างต่อเนื่อง
เนื่องจากมีการสร้างขึ้นมาอย่างต่อเนื่องจากการเปลี่ยน และร่างกายไม่สามารถกำจัดได้ทัน การตรวจวัดเป็นช่วงๆ เช่นทุก 30 นาที ก็ช่วยในการประเมินผู้ป่วยได้มาก
พบว่าหลังจากให้การรักษาแล้ว 6 ชม. ระดับ (lactate clearance) จะลดลง 10% และการที่ระดับ lactate ลดลงพบว่าการใช้ vasopressor therapy จะลดลงด้วย และอัตราการเสียชีวิตก็ลดลง
สภาวะอื่นที่ทำให้มีการเพิ่มขึ้นของระดับ lactate ได้แก่ ภาวะที่ทำให้ร่างกายได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอด้วยสาเหตุต่างๆ เช่น ภาวะหัวใจล้มเหลวภาวะขาดน้ำ, การบาดเจ็บ, การมีอุณหภูมิร่างกายสูง, ชัก, การมีภาวะ lactic acidosis
โดยมีค่าอ้างอิงแตกต่างกันไปบ้าง เช่น น้อยกว่า 2.0 มิลลิโมล/ลิตร, น้อยกว่า 2.3 มิลลิโมล/ลิตร (ตามอ้างอิงด้านล่าง) ส่วนใน Harrison ใช้ที่น้อยกว่า 1.7 มิลลิโมล/ลิตร การเก็บเลือดตรวจให้ทำโดยไม่ต้องทำ tourniquet เพราะจะทำให้ค่าสูงขึ้น รวมถึงไม่ควรออกกำลังมือและแขนหรือเกร็งแขนก่อนเจาะเลือด 

Ref: การรักษาระบบไหลเวียนโลหิตในผู้ป่วยช็อคจากการติดเชื้อในผู้ใหญ่
บดินทร์  ขวัญนิมิตร

วันอังคารที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2556

2,498 การตรวจปริมาณ เชื้อนิวโมคอกคอล (pneumococcal)ในผู้ป่วยปอดอักเสบติดเชื้อ เพื่อประโยชน์ในการตรวจวินิจฉัยและการรักษา

Using “Pneumococcal Load” in Pneumonia Patients
Abigail Zuger, MD reviewing Wolter N et al. J Infect Dis 2013 Aug 30

การใช้ Polymerase chain reaction (PCR) เพื่อตรวจหาดีเอ็นเอของเชื้อนิวโมคอกคอล (pneumococcal) ในเลือดได้รับการพัฒนาด้วยความหวังว่าจะช่วยยืนยันความน่าเชื่อถือและนำมาใช้ในการวินิจฉัย pneumococcal pneumonia นอกเหนือจากการตรวจโดยวิธีการมาตรฐานเดิมที่ทำการเพาะเชื้อจากในเลือดและจากเสมหะ
โดยในช่วงที่ผ่านมาได้มีการศึกษาวิจัยเพื่อการวินิจฉัยและการพยากรณ์โรคโดยการตรวจหาปริมาณเชื้อ (pneumococcal loads) ในผู้ป่วยที่เข้ารับรักษาในโรงพยาบาล ผู้ป่วยส่วนใหญ่ที่มีปริมาณเชื้อสูงที่สุดได้แก่ ผู้ที่ติดเชื้อเอ็ชไอวี ผู้ป่วยที่มีภาวะโรคปอดบวมที่ตรวจพบมีความเสี่ยงที่สูงขึ้นสำหรับการเสียชีวิตมากกว่าผู้ที่ตรวจไม่พบ และความเสี่ยงการเสียชีวิตเพิ่มขึ้นในผู้ที่มีปริมาณเชื้อสูงกว่า จากการศึกษาในผู้ป่วย 1,120 คน พบว่า 23 คนเพาะเชื้อขึ้น โดยมี 116 คน ตรวจ พบโดย PCR, 14 คนพบว่าเพาะเชื้อขึ้นและพบได้โดย PCR แต่มี 9 คนที่พบโดย PCR แต่ไม่พบจากการเพาะเชื้อ จะเห็นว่า PCR มีความไวกว่าและสามารถให้การพยากรณ์โรคได้

Ref: http://www.jwatch.org/na32208/2013/09/16/using-pneumococcal-load-pneumonia-patients

วันพฤหัสบดีที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2556

2,401 การใช้สารบ่งชี้มะเร็ง (tumor marker) ในการติดตามผู้ป่วย

Clinical use of tumor marker in the follow-up of cancer patient 
พญ.เฉลิมพร  โรจน์รัตน์ศิริกุล 
และ อ. นพ. สกล  สิงหะ 
เนื้อหาประกอบด้วย
-Serum tumor marker
-CEA (carcinoembryonic antigen) 
-CA 19-9  
-AFP(alpha fetoprotein) 
-CA 15-3  
-PSA
-Cancer antigen 27.29 

ลิงค์ Click