แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ Substance abuse แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ Substance abuse แสดงบทความทั้งหมด

วันจันทร์ที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2558

3,175 หนังสือการทบทวนองค์ความรู้เกี่ยวกับการควบคุมการบริโภคยาสูบ

โดย เนาวรัตน์ เจริญค้า,นิภาพรรณ กังสกุลนิติ,นิทัศน์ ศิริโชติรัตน์,ชวาลา ภวภูตานนท์ ณ มหาสารคาม,สถาพร จิรัตนานนท์,Stephen Hamann

สนับสนุนโดยสำนักโรคไม่ติดต่อ กองควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
เนื้อหาโดยละเอียดประกอบด้วย
-พฤติกรรมการสูบบุหรี่ในกลุ่มต่างๆ
-โรคภัยที่เกิดจากการสูบบุหรี่
-ภาวะทางเศรษฐกิจ
-ภาคการสื่อสาร
-ภาคส่วนการเมือง



วันเสาร์ที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2558

3,173 แนวทางปฏิบัติในการดูแลรักษาผู้ป่วยติดสุราที่มีภาวะถอนพิษสุราแบบรุนแรงสำหรับทีมสหวิชาชีพ

โดยโรงพยาบาลจิตเวชขอนแก่นราชนครินทร์
เนื้อหาโดยละเอียดประกอบด้วย
-แนวทางปฏิบัติในการดูแลรักษาผู้ป่วย ติดสุราที่มีภาวะถอนพิษสุราแบบรุนแรง (Delirium Tremens) สำหรับแพทย์
-แนวทางปฏิบัติในการดูแลรักษาผู้ป่วย ติดสุราที่มีภาวะถอนพิษสุราแบบรุนแรง (Delirium Tremens) สำหรับตึกผู้ป่วยใน
-แนวทางปฏิบัติในการดูแลรักษาผู้ป่วย ติดสุราที่มีภาวะถอนพิษสุราแบบรุนแรง (Delirium Tremens) สำหรับงานโภชนาการ
-แนวทางปฏิบัติในการดูแลรักษาผู้ป่วย ติดสุราที่มีภาวะถอนพิษสุราแบบรุนแรง (Delirium Tremens)สำหรับเภสัชกร
-แนวทางปฏิบัติในการดูแลรักษาผู้ป่วย ติดสุราที่มีภาวะถอนพิษสุราแบบรุนแรง (Delirium Tremens)สำหรับนักจิตวิทยา
-แนวทางปฏิบัติในการดูแลรักษาผู้ป่วย ติดสุราที่มีภาวะถอนพิษสุราแบบรุนแรง (Delirium Tremens)สำหรับนักสังคมสงเคราะห์
-แนวทางปฏิบัติในการดูแลรักษาผู้ป่วย ติดสุราที่มีภาวะถอนพิษสุราแบบรุนแรง (Delirium Tremens)สำหรับบริการฟื้นฟูสมรรถภาพ
-แนวทางปฏิบัติในการดูแลรักษาผู้ป่วย ติดสุราที่มีภาวะถอนพิษสุราแบบรุนแรง (Delirium Tremens)สำหรับหน่วยจิตสังคมบำบัด
-แนวทางปฏิบัติในการดูแลรักษาผู้ป่วย ติดสุราที่มีภาวะถอนพิษสุราแบบรุนแรง (Delirium Tremens) พยาบาลสุขภาพจิตชุมชน

 ลิ้งค์ http://www.jvkk.go.th/newweb/CPG/algohol_lession4.aspx

วันศุกร์ที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2558

3,172 การบําบัดเพื่อเสริมสร้างแรงจูงใจ (Motivational interview)

โดย นพ.นันทวัช สิทธิรักษ์
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
เนื้อหาโดยละเอียดประกอบด้วย
-แนวคิดของการบำบัดเพื่อเสริมสร้างแรงจูงใจ
-หลักการพื้นฐานของการบำบัดเพื่อเสริมสร้างแรงจูงใจ
-ขั้นตอนการบำบัด
-การให้บุคคลสำคัญของผู้ป่วยเข้ามามีส่วนร่วม
-เป้าหมาย
-การติดตามและประเมินผลการบำบัด

ลิ้งค์ http://www.si.mahidol.ac.th/th/department/psychiatrics/admin/download_files/4_4_1.pdf

วันพุธที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2558

3,170 แนวทางการบำบัดรักษาการติดสารเสพติดกลุ่มโอปิออยด์ด้วยเมทาโดนระยะยาว

แนวทางการบำบัดรักษาการติดสารเสพติดกลุ่มโอปิออยด์ด้วยเมทาโดนระยะยาว
(Guidelines for Methadone Maintenance Treatment of Opioids Dependence)
โดยศูนย์วิชาการด้านยาเสพติด 
สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด

การบำบัดรักษาการเสพติดกลุ่มโอปิออยด์ด้วยเมทาโดนระยะยาวเป็นรูปแบบการบำบัดรักษาที่เป็นสากล มีประสิทธิภาพ ปลอดภัยและคุ้มค่าทั้งผู้ให้บริการและรับบริการ
สามารถลดจำนวนผู้ที่จะเบี่ยงเบนไปใช้ยาเสพติดที่ผิดกฎหมาย ถือเป็นสาระสำคัญของการลดอันตรายจากการใช้ยา ทำให้ผู้ป่วยมีความมั่นคงในชีวิต
ไม่ต้องหลบซ่อนผู้รักษากฎหมาย และผู้คนรอบด้าน สามารถมีชีวิตความเป็นอยู่และทำหน้าที่ในสังคมได้อย่างปกติสุข ลดจำนวนครั้งของการรอ/รักษาให้เลิกยาเสพติด
ลดปัญหาสุขภาพและค่าใช้จ่ายที่ต้องใช้ในกระบวนการยุติธรรม ลดความเสี่ยงในการรับและแพร่เชื้อเอชไอวีและไวรัสอื่นๆที่ติดต่อทางเลือด



วันเสาร์ที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2558

3,145 การบำบัดรักษาผู้ติดบุหรี่โดยใช้ยา (Pharmacological Therapy)

 จากเว็บไซตืโรงพยาบาลศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
-ยากลุ่ม  First-line
    การให้นิโคตินทดแทน  (Nicotine  Replacement  Therapy)
    นิโคตินแบบแผ่นแปะ  (Nicotine  patch)
    หมากฝรั่งนิโคติน  (Nicotine  gum)
    นิโคตินแบบสูดทางปาก   (Nicotine  oral  inhaler)
    นิโคตินแบบพ่นจมูก  (Nicotine  nasal  spray)
    นิโคตินแบบเม็ดอม  (Nicotine   Lozenges)
    นิโคตินแบบอมใต้ลิ้น  (Nicotine  sublingual  tablet)
    บูโปรเปียน (Bupropion)
-ยากลุ่ม  Second-line
    โคลนิดีน  (Clonidine)
    นอร์ทริพทิดีน (Nortriptyline)
    การใช้ยาหลายชนิดร่วมกัน  (Combination  therapy)

Ref: คลิก

วันอังคารที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2558

3,064 หนังสือเรื่อง ผู้หญิง สารเสพติด และการตั้งครรภ์

เป็นองค์ความรู้เพื่อให้บุคลากรสุขภาพหรือผู้เกี่ยวข้องสามารถนำไปใช้ในการให้ความรู้และแนะนำได้ ขณะเดียวกันหญิงที่เตรียมตัวตั้งครรภ์ หญิงตั้งครรภ์และครอบครัว จะได้มีความรู้ความเข้าใจตระหนักถึงปัญหาและสามารถป้องกันและลดความเสี่ยงต่อสุขภาพของแม่และเด็กได้


วันเสาร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

2,674 การจัดการภาวะฉุกเฉิน ในผู้เสพสารกระตุ้นประสาทกลุ่มแอมเฟตามีน

เรียบเรียงโดย
แพทยหญิงพันธุ์นภา กิตติรัตนไพบูลย์
แพทย์หญิงบุญศร จันศิริมงคล
สนับสนุนโดย
แผนงานการพัฒนาระบบการดูแลผู้มีปัญหาการดื่มสุรา (ผรส.)
กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)


ลิ้งค์  คลิก

วันพุธที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

2,671 การใช้ยาในการบำบัดรักษาผู้ติดสารเสพติดกลุ่มแอมเฟตามีน

การทบทวนองค์ความรู้เรื่อง 
การใช้ยาในการบำบัดรักษาผู้ติดสารเสพติดกลุ่มแอมเฟตามีน 
Pharmacological Treatment in Methamphetamine Abusers 

เรียบเรียงโดย
ผู้ช่วยศาสตรจารย์ แพทย์หญิงสุรินทร์พร ลิขิตเสถียร
ศาสตราจารย์ นายแพทย์มานิต ศรีสุรภานนท์
สนับสนุนโดย
แผนงานวิชาการพัฒนารูปแบบการดูแลผู้เสพสารเสพติดในชุมชน
แผนงานการพัฒนาระบบการดูแลผู้มีปัญหาการดื่มสุรา (ผรส.)
กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)


ลิ้งค์ คลิก

วันพฤหัสบดีที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2557

2,627 Global effects of smoking, of quitting, and of taxing tobacco

Review article
Global health
N Engl J Med  January 2, 2014

บนพื้นฐานของรูปแบบการสูบบุหรี่ในปัจจุบัน โดยทั่วโลกพบว่ามีค่าเฉลี่ยของผู้ชายประมาณ 50% และผู้หญิง 10% ที่ยังสูบบุหรี่ และการหยุดสูบยังค่อนข้างน้อย, การเสียชีวิตเนื่องจากการสูบบหรี่ในแต่ละปีจะเพิ่มขึ้น
จากประมาณ 5 ล้านคนในปี 2010 และจะมากกว่า 10 ล้านคนในไม่กี่สิบต่อแต่นี้ไป ผู้สูบบุหรี่หนุ่มสาวในวันนี้จะกลายเป๋็นวัยกลางคนและวัยชราในเวลาต่อไป
มีประมาณ 100 ล้านคนที่ผู้เสียชีวิตจากการสูบบุหรี่ในศตวรรษที่ 20 โดยมีมากที่สุดในประเทศที่พัฒนาแล้ว หากรูปแบบการสูบบุหรี่ในปัจจุบันยังคงมีอยู่ บุหรี่จะฆ่าชีวิตประชากรประมาณ 1 พันล้านคนในศตวรรษนี้ โดยส่วนใหญ่อยู่ในประเทศที่มีรายได้ต่ำและปานกลาง ประมาณครึ่งหนึ่งของการเสียชีวิตเหล่านี้จะเกิดขึ้นก่อนอายุ 70 ปี
ในปี 2013 World Health Assembly เรียกร้องให้รัฐบาลทำการลดความชุกของการสูบบุหรี่ลงประมาณหนึ่งในสามในปี 2025  เพื่อที่จะหลีกเลี่ยงการเสียชีวิตมากกว่า 200 ล้านคน จากการสูบบุหรี่ในช่วงที่เหลือของศตวรรษ
เนื้อหาโดยละเอียดประกอบด้วย
-Three Key Messages for Smokers in the 21st Century
-Eventual Hazards of Smoking
-Rapid Benefits of Stopping
-Effects of Increasing Cigarette Prices
-Other Effective Interventions
-Death and Taxes
-Source Information

อ่านต่อโดยละเอียด: http://www.nejm.org/doi/full/10.1056/NEJMra1308383

วันอาทิตย์ที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

2,586 แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับการบำบัดรักษาโรคติดบุหรี่ในประเทศไทย

แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับการบำบัดรักษาโรคติดบุหรี่ในประเทศไทย ปี พ.ศ.2552
สำหรับแพทย์และบุคลากรวิชาชีพสุขภาพ

ผู้จัดทำ: เครือข่ายวิชาชีพแพทย์ในการควบคุมการบริโภคยาสูบ
ผู้สนับสนุน: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)




วันจันทร์ที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

2,565 การสูบบุหรี่สามารถทำให้อายุขัยของมนุษย์สั้นลงมากถึง 10 ปี

นักวิทยาศาสตร์วออสเตรเลีย พบพบว่าบุหรี่สามารถทำให้อายุขัยของมนุษย์สั้นลงมากถึง 10 ปี ผลการศึกษายังแสดงให้เห็นว่า การสูบบุหรี่แม้แต่ไม่ต้องสูบหนัก ก็สามารถก่อความเสียหายอย่างร้ายแรงและสัมพันธ์กับการมีอายุสั้นมากยิ่งกว่าที่เคยเชื่อกันมาก่อน การศึกษาซึ่งทำด้วยการวิเคราะห์ข้อมูลต่างๆ เป็นเวลานานถึง 4 ปี ได้พบว่า คอบุหรี่ที่เสียชีวิตลงในปัจจุบันมากถึง 2 ใน 3 ล้วนเนื่องมาแต่บุหรี่โดยตรง สูงกว่าการคาดหมายเดิม ที่ประมาณว่ามีเพียงแค่ร้อยละ 50 เท่านั้น นักวิจัยได้ศึกษาจากสถิติด้านสุขภาพ ของผู้คนที่มีอายุเกิน 45 ปีขึ้นไป ไม่ต่ำกว่า 200,000 คน พบว่าอาจจะทำให้อายุขัยสั้นลงไม่ต่ำกว่า 10 ปี ซึ่งศาสตราจารย์เอมิลี แบงค์ หัวหน้าคณะศึกษากล่าวว่า “เราต่างก็รู้ว่าบุหรี่ทำลายสุขภาพ เราเพิ่งมาได้หลักฐานยืนยันโดยตรงจากออสเตรเลียว่า มันน่าหวาดหวั่นแค่ไหน ผู้ที่สูบบุหรี่อยู่นั้นเหมือนกับคบหาอยู่กับความตายใกล้ชิด ซึ่งถ้าไปเทียบกับผู้ที่ไม่ได้สูบมาก่อน จะมากกว่ากันอยู่ ถึง 3 เท่า”

Ref: http://www.thaihealth.or.th/healthcontent/healthtips/37295

วันศุกร์ที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

2,561 การดูแลรักษาผู้ป่วยที่มีอาการขาดสุราแบบผู้ป่วยนอก

Outpatient management of alcohol withdrawal syndrome

อาการขาดสุรามักจะเริ่มในช่วง 6-24 ชม. หลังการดื่มครั้งสุดท้าย ผู้ป่วยที่มีอาการขาดสุราซึ่งมีอาการไม่มากหรือปานกลางสามารถให้การรักษาแบบรักษาผู้ป่วยนอก ซึ่งจะช่วยลดค่าใช้จ่ายและช่วยให้ไม่ต้องหยุดงานและการใช้ชีวิตอยู่กับครอบครัว
ผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงหรือผู้ที่มีความเสี่ยงสูงจากภาวะแทรกซ้อนควรได้รับการรักษาในโรงพยาบาล นอกเหนือไปจากการรักษาแบบประคับประคอง (supportive therapy), การใช้ยา benzodiazepines ทั้งแบบ fixed-dose หรือ symptom-triggered schedule เป็นสิ่งที่แนะนำ ควรให้ยาตั้งแต่เริ่มมีอาการจนอาการดีขึ้น การให้ยานอกจากจะช่วยลดอาการขาดสุราแล้วแล้วยังสามารถช่วยป้องกันการชักได้อีกด้วย
แม้ว่าประสิทธิภาพในการรักษาเป็นก้าวแรกของของการหายของภาวะการขาดสุรา แต่ความสำเร็จในระยะยาวยังต้องอาศัยความร่วมมือของผู้ป่วยในการรักษาอย่างต่อเนื่อง

Ref: American Family Physician   November 1 2013 Vol. 88 No. 9
http://www.aafp.org/afp/2013/1101/p589.html

วันศุกร์ที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2556

2,402 เหตุผลทางการแพทย์ที่ต้องทำให้บ้าน ที่ทำงาน และสถานที่สาธารณะปลอดควันบุหรี่

จากรายงานคณะผู้เชี่ยวชาญด้านบุหรี่และสุขภาพ ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งลอนดอน 2548 
แปลและเรียบเรียงโดย ศ.พน. ประกิต วาทีสาธกกิจ
มูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่

เนื้อหาประกอบด้วย
-ควันบุหรี่มือสองคืออะไร และมีอันตรายอย่างไร
-ผลกระทบต่อสุขภาพของควันบุหรี่มือสอง
-สภาพการได้รับควันบุหรี่มือสอง
-การเสียชีวิตจากการได้รับควันบุหรี่มือสองในอังกฤษ
-การป้องกันการได้รับควันบุหรี่มือสองในที่ทำงาน
-การป้องกันการได้รับควันบุหรี่มือสองบ้าน
-แง่มุมกฏหมายเกี่ยวกับการได้รับควันบุหรี่มือสอง
-ความคิดเห็นของประชาชนต่อการห้ามสูบบุหรี่ในที่สาธารณะ
-กฏหมายห้ามสูบบุหรี่ในที่สาธารณะและที่ทำงาน ข้อโต้แย้งด้านจริยธรรมและสิทธิส่วนบุคคล
-ผลกระทบทางเศรษฐกิจจากการห้ามสูบบุหรี่ในที่สาธารณะ
-ข้อโต้แย้งและการรับมือของบริษัทิบุหรี่ต่อการห้ามสูบบุหรี่ในที่สาธารณะและที่ทำงาน
-ข้อสุปและข้อเสนอแนะ
-จะป้องกันตัวเองและคนที่คุณรักจากควันบุหรี่มือสองได้อย่างไร

ลิ้งค์ http://resource.thaihealth.or.th/system/files/documents/ehtuphlthaangkaaraephthy_1-8.pdf

วันศุกร์ที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

2,378 ควรจะเลิกสูบบุหรี่แบบทันทีทันใดหรือค่อย ๆ ลดการสูบลงจนเลิกได้

Should smokers quit abruptly or gradually?
July 11, 2013
Thomas L. Schwenk, MD reviewing Lindson-Hawley N et al. JAMA 2013 Jul 3. Lindson-Hawley N et al. Cochrane Database Syst Rev 2012 Nov 14

วิธีในการเลิกสูบบุหรี่แบบทันทีทันใด (บางครั้งเรียกว่า "cold turkey") หรือที่บ้านเราเรียกว่าการหักดิบ กับการที่ค่อย ๆ ลดการสูบบุหรี่ลงจนเลิกได้ โดยแนวปฏิบัติทางคลินิกของสหรัฐอเมริกาและเช่นเดียวกับฉลากกำกับยาโดย FDA ของสหรัฐอเมริกา แนะนำว่าควรพยายามที่จะเลิกสูบบุหรี่แบบทันทีทันใด แต่ผู้สูบบุหรี่บางคนชอบที่จะค่อยๆลดปริมาณนิโคตินลงมากกว่า
ในการทบทวนแบบ Cochrane จาก 10 การทดลองควบคุมแบบสุ่ม ซึ่งดำเนินการในหลายสภาวะที่แตกต่างๆ ในหลายประเทศ โดยนักวิจัยได้ทำการประเมินอัตราการเลิกบุหรี่อย่างน้อย 6 เดือนภายหลังได้รับการบำบัด (แบบทันทีทันใดหรือแบบค่อย ๆ เลิก) ในผู้สูบบุหรี่จำนวน 3,760 คนที่ต้องการเลิกสูบบุหรี่ โดยที่สถานะการสูบบุหรี่ได้รับการตรวจสอบทางชีวภาพใน 7 การศึกษา
พบว่าอัตราการเลิกอยู่ที่ 14% -15% โดยไม่คำนึงถึงวิธีการเลิกสูบบุหรี่ ความสำเร็จของวิธีการอย่างใดอย่างหนึ่งไม่แตกต่างกันในการศึกษาที่มีการให้นิโคตินทดแทน, self-help methods, หรือ behavioral support.
ในหัวข้อความคิดเห็นได้กล่าวว่า ในการศึกษาแบบ meta-analysis นี้ พบว่การหยุดสูบบุหรี่อย่างกระทันหันและการค่อย ๆ ลดการสูบบุหรี่ลงมีความสำเร็จใกล้เคียงกัน ผลการศึกษานี้ชี้ให้เห็นว่าแพทย์
สามารถร่วมปรึกษาให้ข้อมูลคำแนะนำกับผู้ป่วยที่ต้องการเลิกสูบบุหรี่เพื่อระบุถึงวิธีการที่ผู็ป่วยต้องการเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของโปรแกรมการเลิกสูบบุหรี่ที่ครอบคลุม โดยแนวปฏิบัติทางคลินิกในการเลิกสูบบุหรี่ของสหรัฐอเมริกาจะเป็นในแนวทางการเลิกสูบแบบทันทีทันใด แต่ในสหราชอาณาจักรและออสเตรเลียจะมีความยืดหยุ่นในเรื่องนี้

Ref: http://www.jwatch.org/na31587/2013/07/11/should-smokers-quit-abruptly-or-gradually

วันเสาร์ที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

2,310 แบบคัดกรองประสบการณ์ การดื่มสุรา สูบบุหรี่ และใช้สารเสพติด

แบบคัดกรองประสบการณ์ การดื่มสุรา สูบบุหรี่ และใช้สารเสพติด
คู่มือเพื่อใช้ในสถานพยาบาลประฐมภูมิ

ตีพิมพ์โดยองค์การอนามัยโลกในปี ค.ศ. 2010 ภายใต้ชื่อเรี่อง 
The Alcohol, Smoking and Substance Involvement Screening Test (ASSIST) : Manual for use in primary care 
ผู้อำนวยการองค์การอนามัยโลกได้มอบลิขสิทธิ์การแปลและเผยแพร่ในฉบับภาษาไทย โดยแผนงาน 
พัฒนาระบบการดูแลผู้มีปัญหาการดื่มสุรา (ผรส.)

แปลและเรียบเรียงโดย  รองศาสตราจารย์แพทย์หญิง ดร.สาวิตรี อัษณางค์กรชัย 
  รองศาสตราจารย์แพทย์หญิง สวรรณา อรณพงค์ไพศาล 
  แพทย์หญิงพันธุ์นภา กิตติรัตนไพบลย์

สนับสนุนโดย 
สำนกงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) 
กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข 
แผนงานการพัฒนาระบบการดูแลผู้มีปัญหาการดื่มสุรา (ผรส.) 
แผนงานวิชาการสารเสพติดชุมชน 


ลิงค์ดาวน์โหลด ลิ้งค์

วันอาทิตย์ที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2555

2,137 การบำบัดผู้ติดสารเสพติดที่มีปัญหาซับซ้อน

สนับสนุนโดย
แผนงานวิชาการพัฒนารูปแบบการดูแลผู้เสพสารเสพติดในชุมชน
แผนงานการพัฒนาระบบการดูแลผู้มีปัญหาการดื่มสุรา (ผรส.)
สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา
คณะกรรมการจัดการความรู้เรื่องการพัฒนาโปรแกรมการดูแลผู้มีปัญหาสารเสพติดในระบบสาธารณสุข พ.ศ.2555
กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
เรียบเรียงโดย : พญ. พันธุ์นภา กิตติรัตนไพบูลย์,
พญ.บุญศิริ จันศิริมงคล,
พอ.พญ.นวพร หิรัญวิวัฒน์กุล,
พอ.นพ.พิชัย แสงชาญชัย
และ ดร.ดรุณี ภู่ขาว
เนื้อหาประกอบด้วย :
-  การประเมินผู้มีปัญหาซับซ้อนโรคจิตเวชร่วม ปัญหาจากการบำบัดไม่สำเร็จ
-  การให้คำปรึกษาและการบำบัดเพื่อเสริมสร้างแรงจูงใจสำหรับผู้มีปัญหาสารเสพติดแอมเฟตามีน
-  การจัดการกับพฤติกรรมอยากเสพสารเสพติดแอมเฟตามีน
-  การบำบัดผู้เสพสารเสพติดแอมเฟตามีนด้วยการปรับเปลี่ยนความคิดและพฤติกรรม
- เทคนิคการเพิ่มจำนวนผู้มีปัญหาสารเสพติดเข้าสู่ระบบบริการ เต็มใจอยู่ และอยู่จนครบกำหนดการบำบัดรักษา


ลิ้งค์ดาวโหลด คลิกที่นี่

2,136 การให้คำปรึกษาผู้มีปัญหาสารเสพติด

สนับสนุนโดย
แผนงานวิชาการพัฒนารูปแบบการดูแลผู้เสพสารเสพติดในชุมชน
แผนงานการพัฒนาระบบการดูแลผู้มีปัญหาการดื่มสุรา (ผรส.)
สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา
กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
เรียบเรียงโดย : เทอดศักดิ์ เดชคง และคณะ
เนื้อหาประกอบด้วย :
-   บทนำ ได้แก่ ทฤษฎีของการให้คำปรึกษา, หน้าที่ของผู้ให้คำปรึกษา,
   การใช้คู่มือการให้คำปรึกษาผู้มีปัญหาสารเสพติด,
   การให้คำแนะนำแบบสั้น,
   การให้คำแนะนำครอบครัวแบบสั้น ฯลฯ
- ประเด็นเนื้อหาที่ใช้ในการให้คำปรึกษา ได้แก่
   การสนทนาเพื่อสร้างแรงจูงใจ,
   ความรู้เรื่องยาบ้าและผลกระทบจากการใช้ยา,
   ความคิด อารมณ์ และพฤติกรรม, การเลิกสารเสพติด, การเลิกสุรา,
   วิเคราะห์ตัวกระตุ้น, ทักษะการแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบ,
   การหลีกเลี่ยงการหวนกลับไปเสพสารเสพติด, การจัดการตัวกระตุ้น,
   ปัญหาที่พบบ่อย, ทักษะการปฏิเสธ,
   ความเชื่อที่ถูกต้องและทัศนคติที่ร่วมมือในการเลิกสารเสพติด,
   พรบ.ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด, สิ่งยึดเหนี่ยวทางจิตใจ,
   เคล็ดลับในการเลิกเสพสารเสพติด, การสร้างความไว้วางใจ,
   การหาเพื่อนใหม่, เป้าหมายและคุณค่าของชีวิต
   และการสนับสนุนจากครอบครัว/สังคม


ลิ้งค์ดาวโหลด คลิกที่นี่

2,135 การประเมินปัญหาการใช้สารเสพติด

สนับสนุนโดย
แผนงานวิชาการพัฒนารูปแบบการดูแลผู้เสพสารเสพติดในชุมชน
แผนงานการพัฒนาระบบการดูแลผู้มีปัญหาการดื่มสุรา (ผรส.)
สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา
กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
เรียบเรียงโดย : 
พญ. พันธุ์นภา กิตติรัตนไพบูลย์,
รศ.พญ.ดร.สาวิตรี อัษณางค์กรชัย,
พญ.บุญศิริ จันศิริมงคล
เนื้อหาประกอบด้วย :
-  ความรู้เกี่ยวกับสารเสพติดเพื่อการบำบัดรักษา
-  ภาวะฉุกเฉินจากสารเสพติดและการดูแลช่วยเหลือ
-  การประเมินปัญหาสารเสพติดและการบำบัดแบบสั้นตามผลคัดกรอง


วันเสาร์ที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2555

2,134 โปรแกรมการดูแลบำบัดรักษา ผู้มีปัญหาสารเสพติดกลุ่่มแอมเฟตามีนในสถานพยาบาลปฐมภูมิ

คู่่มือสำหรับผู้้ปฏิบัติ : โปรแกรมการดูแลบำบัดรักษาผู้มีปัญหาสารเสพติดกลุ่่มแอมเฟตามีนในสถานพยาบาลปฐมภูมิ (ฉบับทดลองนำร่่อง)
สนับสนุนโดย
แผนงานวิชาการพัฒนารูปแบบการดูแลผู้เสพสารเสพติดในชุมชน
แผนงานการพัฒนาระบบการดูแลผู้มีปัญหาการดื่มสุรา (ผรส.)
สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา
กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

รียบเรียงโดย :
พญ. พันธุ์นภา กิตติรัตนไพบูลย์ และ พญ. บุญศิริ จันศิริมงคล

เนื้อหาประกอบด้วย :
- แนะนำแผนงานวิชาการสารเสพติดชุมชน
- โครงการนำร่องเสริมศักยภาพรูปแบบการดูแลบำบัดรักษาผู้มีปัญหาสารเสพติด
- สรุปสิ่งควรรู้เกี่ยวกับสารเสพติดกลุ่มแอมเฟตามีน
- โปรแกรมการดูแลบำบัดรักษาผู้มีปัญหาสารเสพติดกลุ่มแอมเฟตามีน
 ในสถานพยาบาลปฐมภูมิ ประกอบด้วย 3 ขั้นตอน
            1.  การประเมินเพื่อจำแนกความรุนแรงของปัญหาสารเสพติด
           แอมเฟตามีนและให้คำแนะนำเบื้องต้น
            2. การจัดบริการดูแลรักษาตามความรุนแรงของปัญหาสารเสพติด
           แอมเฟตามีน
            3. การประเมินผลลัพธ์การรักษาและการติดตามต่อเนื่องในชุมชน



ลิ้งค์ดาวโหลด คลิกที่นี่