For making a pile of debris, I started with preparing all elements I need to put on the base such as bricks, stones, wood strips, etc. The bricks were made from plaster and painted with GSI color, these are leftovers from my previous vignette project. All of the wood elements were made from balsa wood and painted in different colors to simulate the appearance of old wood.
After everything was ready, I used white glue diluted with water and mixed with smashed brick (try to smash it into tiny pieces as much as possible). I then applied the mixture onto the pile (made from plaster) with a paintbrush. This mixture will be covered the plaster surface and make it look like a natural pile of debris. I also added some bricks, wood beams, etc., on some areas while I applied the mixture on the base in order to make it has a variety of materials that collapsed from the building.
สำหรับการทำซากปรักหักพังบนพื้น ที่เกิดจากอาคารที่โดนทำลาย ผมเริ่มจากการเตรียมองค์ประกอบต่างๆที่ผมต้องการจะใส่ลงไปในฉาก เช่น เศษอิฐทั้งแบบก้อนสี่เหลี่ยมหรือแบบเศษที่แตกออกมา เศษหิน เศษไม้ขนาดต่างๆ ฯลฯ โดยก้อนอิฐนั้นทำมาจากปูนพลาสเตอร์หล่อมาเป็นแผ่น นำมาตัดแยกทีละก้อนแล้วค่อยทำสี ก้อนอิฐที่เห็นนี้เป็นของที่เหลือจากการทำฉากครั้งก่อนที่ตอนนั้นทำสีด้วยสีกันเซ่ครับ ดังนั้นสีจึงอาจจะไม่ตรงกับสีของอิฐบนตัวอาคาร ส่วนเศษไม้ที่เห็นทำมาจากไม้บัลซ่าหลายๆขนาด แล้วทำสีให้ดูเหมือนกับไม่เก่าๆครับ
หลังจากที่เตรียมทุกอย่างเรียบร้อย ผมใช้กาวลาเท็กซ์ผสมกับน้ำให้กาวเหลวขึ้น แล้วนำเศษก้อนอิฐแดงทุบละเอียดมาผสมลงไป จากนั้นนำกาวผสมเศษอิฐนี้ทาลงบนฐานด้วยพู่กัน ซึ่งมันจะไปคลุมผิวของปูนที่ทำเป็นเนินเตรียมเอาไว้และจะทำให้ดูเหมือนกับเป็นเศษอิฐที่กองทับถมกันอยู่ครับ นอกจากนี้ตอนที่ทากาวผสมเศษอิฐลงบนฐาน ผมก็นำองค์ประกอบต่างๆที่เตรียมไว้ มาใส่และจัดวางลงไปพร้อมกัน ทั้งก้อนอิฐที่ทำจากปูน เศษไม้ต่างๆ เพื่อที่จะให้มีความหลากหลายของวัสดุที่กองทับกันอยู่จากการที่ถล่มลงมาจากตัวอาคาร
This method took some time to finish but do not worry because the mixture of white glue, water and bricks will take several hours before it starts to dry. Therefore you have plenty of time to adjust the shape or position of the brick. I applied the mixture and everything onto the base back and forth until it was completely covered and could not see the black surface. I also sprinkled dry smashed brick onto the wet mixture on some areas to create more textures. If some areas overflow with white glue, it will leave the glue stains when it dries, use a tissue to absorb the excess white glue.
วิธีการทำซากปรักหักพังแบบนี้ค่อนข้างจะใช้เวลาในการทำงานพอสมควร เพราะจะเป็นการทำไปทีละส่วนจนกว่าบริเวณนั้นจะถูกปกคลุมทั้งหมดด้วยเศษอิฐ แต่เนื่องจากส่วนผสมของกาว, น้ำ และเศษอิฐนั้นจะใช้เวลาหลายชั่วโมงกว่าที่จะเริ่มแห้ง ดังนั้นเราจึงมีเวลามากพอที่จะจัดวางและปรับแต่งรูปทรงหรือตำแหน่งของกองอิฐต่างๆครับ ซึ่งหากรู้สึกว่าส่วนไหนที่ดูโล่งไป เราสามารถนำเศษอิฐทุบมาโรยซ้ำลงไปได้ กาวที่อยู่ด้านล่างจะซึมลงในเศษที่โรยไปใหม่ทำให้มันเชื่อมเข้าด้วยกัน หรือถ้าส่วนไหนที่ดูแห้งเกินก็สามารถหยอดกาวเพิ่มลงไปได้ เพื่อให้มั่นใจว่าเวลาแห้งแล้วมันจะยึดติดกันได้ดี แต่ควรระวังนิดหนึ่งตรงที่อย่าให้กาวนั้นล้นหรือเยิ้มออกมาจากกองเศษอิฐมากเกินไป เพราะเมื่อกาวแห้งแล้ว ส่วนที่ล้นเกินมานี้จะทิ้งคราบกาวเอาไว้ ให้ใช้กระดาษทิชชู่มาซับคราบกาวส่วนที่เกินออกครับ
Once I satisfied with the position of every elements, I left the base to dry at least for eight hours. When the base is completely dry, the white glue will be strong enough to hold everything in place unless you force to break it. It also does not have any glue stains but look quite satin finish because they all covered with a very thin layer of white glue.
You can see it still needs some touch up because the color of the brick is not match with the building. If I have various colors of smashed brick and use the same color for painting bricks on the building and individual bricks made from plaster, perhaps it will be finished without any touch up.
หลังจากที่ผมพอใจกับการจัดวางตำแหน่งต่างๆแล้ว ผมทิ้งฐานให้กาวนั้นแห้งสนิทอย่างน้อยประมาณ 8 ชั่วโมงครับ และเมื่อมันแห้งสนิทดีแล้ว กาวลาเท็กซ์ที่ทำไว้จะแข็งแรงพอที่จะยึดทุกส่วนให้ติดอยู่กับที่ได้แน่นพอสมควร หากไม่เอามือไปออกแรงแกะก็จะไม่มีปัญหาครับ นำไปปัดฝุ่นด้วยแปรงหรือใช้พู่กันปัดทำสีได้ตามปกติ ซึ่งถ้าเราผสมสัดส่วนของกาวกับน้ำได้พอดี ให้กาวไม่ข้นจนเกินไป ก็จะไม่ทิ้งคราบกาวหนาๆไว้ จะเป็นเพียงชั้นฟิลม์ของกาวที่เคลือบอยู่บนผิวของกองอิฐบางๆเท่านั้น อาจจะทำให้มีลักษณะพื้นผิวออกกึ่งมันกึ่งด้านในบางจุด แต่แก้ได้ด้วยการพ่นทับด้วยเคลียร์ด้านครับ
และหากตอนที่ทำนั้นผสมกาวกับน้ำเหลวมากเกินไป เมื่อทิ้งไว้จนแห้งแล้ว กาวที่เจือจางมากไปอาจจะทำให้เศษอิฐในบางจุดนั้นยึดเกาะได้ไม่ดีและหลุดออกจากฐาน แก้ไขได้โดยการผสมกาวกับน้ำให้ไม่เหลวมากเกิน นำมาทาทับซ้ำอีกรอบให้กองอิฐนั้นดูดซับกาวลงไป แล้วปล่อยทิ้งไว้จนแห้ง กองอิฐจะยึดเกาะกันได้แน่นหนาขึ้นครับ
จะเห็นในภาพว่าสีของอิฐบางส่วนนั้น จะไม่ตรงกับสีของอิฐบนอาคารที่ทำเอาไว้ด้วยสาเหตุที่เขียนเอาไว้ตอนต้น ดังนั้นคงจะต้องมาเพนท์เก็บสีของอิฐบางส่วนกันอีกทีครับ ดังนั้นหากนำวิธีการนี้ไปทำโดยที่หาเศษก้อนอิฐแดงที่จะนำมาทุบให้มีสีที่แตกต่างกัน เข้มบ้างอ่อนบ้าง และทำก้อนอิฐจากปูนพลาสเตอร์โดยใช้สีแบบเดียวกับที่ใช้ทาบนตัวอาคาร เมื่อนำมาทำตามขั้นตอนทั้งหมดแล้ว ผลลัพท์ที่ได้คงจะแตกต่างออกไป และอาจจะไม่ต้องมีการทาเก็บสีของกองอิฐเพิ่มเลยก็เป็นได้ครับ
Monday, January 25, 2016
Monday, January 11, 2016
Casualties of War (part 4)
I have finished weathering on the building and pavement. I used the weathering products from Ammo of MIG such as enamels and pigments to create grime, stains, rainmarks and dust on the building and base. I am sorry I forgot to take a photo during this stage but I think you can find many good tutorials for these methods nowadays. I recommend you check out AMMO OF MIG JIMENEZ channel on YouTube [HERE]. They have many video tutorials explaining how to use their products. I assure you it will be a lot better than my explanation. :)
The last image is an animated GIF so you can see the different before and after weathering.
นี่คือภาพหลังจากที่ทำการเวทเธอริ่งบนตัวอาคารและพื้นถนนเสร็จแล้วครับ ผมใช้สินค้าของ Ammo of MIG ทั้งสีอีนาเมลและพิกเมนท์ในการเวทเธอริ่ง เพื่อที่จะทำให้เกิดคราบสกปรกต่างๆและฝุ่นบนตัวอาคารและพื้นถนนครับ ต้องขออภัยด้วยที่ไม่ได้ถ่ายภาพขั้นตอนการทำเอาไว้ แต่คิดว่าสมัยนี้คงจะหาบทความหรือวีดีโอสอนการทำเวทเธอริ่งกันได้ไม่ยาก ผมแนะนำให้ลองไปดูที่ช่องทางยูทูปของ AMMO OF MIG JIMENEZ คลิ้กที่นี่ครับ [HERE] จะมีวีดีโอสอนการทำเวทเธอริ่งและวิธีการใช้สินค้าของเขาอยู่หลายรายการ คิดว่าดูแบบเป็นภาพเคลื่อนไหวจะเข้าใจได้ง่ายกว่าครับ
ส่วนภาพสุดท้ายที่ลงไว้จะเป็นภาพเคลื่อนไหวแบบ GIF จะช่วยให้เห็นถึงความแตกต่างระหว่างก่อนและหลังการเวทเธอริ่งครับ
The last image is an animated GIF so you can see the different before and after weathering.
นี่คือภาพหลังจากที่ทำการเวทเธอริ่งบนตัวอาคารและพื้นถนนเสร็จแล้วครับ ผมใช้สินค้าของ Ammo of MIG ทั้งสีอีนาเมลและพิกเมนท์ในการเวทเธอริ่ง เพื่อที่จะทำให้เกิดคราบสกปรกต่างๆและฝุ่นบนตัวอาคารและพื้นถนนครับ ต้องขออภัยด้วยที่ไม่ได้ถ่ายภาพขั้นตอนการทำเอาไว้ แต่คิดว่าสมัยนี้คงจะหาบทความหรือวีดีโอสอนการทำเวทเธอริ่งกันได้ไม่ยาก ผมแนะนำให้ลองไปดูที่ช่องทางยูทูปของ AMMO OF MIG JIMENEZ คลิ้กที่นี่ครับ [HERE] จะมีวีดีโอสอนการทำเวทเธอริ่งและวิธีการใช้สินค้าของเขาอยู่หลายรายการ คิดว่าดูแบบเป็นภาพเคลื่อนไหวจะเข้าใจได้ง่ายกว่าครับ
ส่วนภาพสุดท้ายที่ลงไว้จะเป็นภาพเคลื่อนไหวแบบ GIF จะช่วยให้เห็นถึงความแตกต่างระหว่างก่อนและหลังการเวทเธอริ่งครับ
Friday, January 8, 2016
Casualties of War (part 3)
Door/window frames and the remain of the second floor were made from various thickness of balsa wood. Even though it has just a little space to show the details inside of the building, I think it is good to add something on the wall so it will help to convey the story of the scene rather than leave this area as a blank space.
I chose to paint the wooden areas with dark color (various shades of Grey and Brown) in order to make them contrast with the white wall.
ส่วนของวงกบประตูและหน้าต่าง รวมถึงโครงสร้างของพื้นชั้นสอง ทั้งหมดทำมาจากไม้บัลซ่าขนาดต่างๆครับ แม้ว่าด้านในของตัวอาคารจะมีพื้นที่ค่อนข้างน้อยเพราะอยู่ด้านหลังของฉาก แต่ผมคิดว่าการใส่รายละเอียดอย่างเช่นซากของพื้นอาคารชั้นสอง เพิ่มเติมลงบนผนังด้านในอาคารนี้ จะช่วยสื่อถึงเรื่องราวภายในฉากและเพิ่มรายละเอียดให้กับชิ้นงานในบริเวณนี้ครับ
ส่วนการทำสีส่วนของไม้ ผมเลือกทำสีออกมาให้ดูเป็นไม้เก่าๆสีเข้มๆ โดยผสมจากสีโทนเทาและน้ำตาลหลายๆเฉด เพื่อที่จะได้ดูตัดกับสีขาวของผนังอาคารครับ
I chose to paint the wooden areas with dark color (various shades of Grey and Brown) in order to make them contrast with the white wall.
ส่วนของวงกบประตูและหน้าต่าง รวมถึงโครงสร้างของพื้นชั้นสอง ทั้งหมดทำมาจากไม้บัลซ่าขนาดต่างๆครับ แม้ว่าด้านในของตัวอาคารจะมีพื้นที่ค่อนข้างน้อยเพราะอยู่ด้านหลังของฉาก แต่ผมคิดว่าการใส่รายละเอียดอย่างเช่นซากของพื้นอาคารชั้นสอง เพิ่มเติมลงบนผนังด้านในอาคารนี้ จะช่วยสื่อถึงเรื่องราวภายในฉากและเพิ่มรายละเอียดให้กับชิ้นงานในบริเวณนี้ครับ
ส่วนการทำสีส่วนของไม้ ผมเลือกทำสีออกมาให้ดูเป็นไม้เก่าๆสีเข้มๆ โดยผสมจากสีโทนเทาและน้ำตาลหลายๆเฉด เพื่อที่จะได้ดูตัดกับสีขาวของผนังอาคารครับ
Wednesday, January 6, 2016
Casualties of War (part 2)
As I mentioned in the first part, I started this project a few years ago and it was left on the shelf after I primed the whole base with Black from GSI color and sprayed on the building wall with Light Orange. When I brought this project back to finish, I had to sand the Light Orange area with 400-600 grit sandpaper first. Because the surface of GSI color quite a bit semi-gloss, water-based paints like Vallejo will not hold very well on this surface. I also decided to start over with the painting because it was quite difficult to mix a match color for that old Light Orange, also the blending will be easier on the same type of color.
I used Vallejo 70981 Orange Brown mixed with White for the building wall. The bricks were painted with various shades of Orange and Brown, mixed from Panzer Aces 301 Light Rust, Panzer Aces 302 Dark Rust, 70981 Orange Brown, 70982 Cavalry Brown, 70984 Flat Brown. The stone details on the building and pavement were painted with the colors mixed from 70995 German Grey, Black and White. You can see all of the colors quite a bit bright at the moment but it will be toned down after weathering.
อย่างที่เคยเอ่ยถึงในโพสก่อนหน้านี้ ว่างานชิ้นนี้ผมเริ่มทำเอาไว้หลายปีแล้ว ตอนนั้นผมทำในส่วนของฐานเสร็จก็พ่นสีรองพื้นสีดำเอาไว้ทั้งหมด และพ่นสีพื้นส่วนของกำแพงอาคารด้วยสีโทนส้มอ่อนทิ้งไว้ จากนั้นก็ทิ้งเอาไว้ในตู้ไม่ได้นำมาทำอะไรเพิ่มครับ จนตอนนี้อยากที่จะนำงานชิ้นนี้มาทำต่อให้เสร็จ แต่สีที่เคยทำเอาไว้นั้นเป็นสีกันเซ่สูตรแลคเกอร์ ซึ่งจะมีพื้นผิวของสีที่ค่อนข้างมัน หากนำมาทาทับด้วยสีสูตรน้ำอย่างวัลเลโฮ (Vallejo) จะยึดเกาะบนพื้นผิวของสีกันเซ่ได้ไม่ดีนัก ดังนั้นผมจึงต้องใช้กระดาษทรายเบอร์ 400-600 มาขัดที่ผิวของพื้นสีส้มก่อน เพื่อที่สีสูตรน้ำจะได้ยึดเกาะได้ง่ายขึ้นครับ ในตอนแรกผมอยากที่จะเก็บสีส้มอ่อนเดิมที่ทำเอาไว้ แล้วค่อยมาทำสีไล่แสงเงาเพิ่มด้วยสีวัลเลโฮ แต่สุดท้ายตัดสินใจทาทับสีส้มอ่อนเดิมทั้งหมด เนื่องจากมันค่อนข้างจะลำบากที่จะผสมสีใหม่ให้ได้ใกล้เคียงกับสีเดิม รวมถึงการทาเกลี่ยสีไล่แสงเงาจะทำได้ง่ายกว่าบนพื้นผิวของสีประเภทเดียวกันครับ
สำหรับสีที่ใช้ทาจะเป็นสีของวัลเลโฮทั้งหมด ผมลงชื่อสีเอาไว้ให้ดูเป็นแนวทางครับ จริงๆจะใช้สีเบอร์อะไรก็ได้ในการเพนท์ฉากอาคารต่าง เพราะมันไม่ได้มีสีที่กำหนดตายตัว ขอแค่ให้ดูเหมาะสมกับยุคสมัยและอยู่ในโทนสีแบบที่เราต้องการก็พอครับ
สีส้มอ่อนผสมจาก 70981 Orange Brown กับขาว ส่วนสีของอิฐผสมจากหลายๆสีเพื่อให้ได้สีอิฐที่แตกต่างกันหลายๆเฉด Panzer Aces 301 Light Rust, Panzer Aces 302 Dark Rust, 70981 Orange Brown, 70982 Cavalry Brown, 70984 Flat Brown สุดท้ายเป็นสีส่วนของหินบนตัวอาคารและพื้นถนน ผสมจาก 70995 German Grey กับสีดำและสีขาวครับ
หลังจากเพนท์สีทั้งหมดเสร็จแล้ว จะเห็นว่าสีทั้งฉากโดยรวมจะดูค่อนข้างสว่างและสด ซึ่งเราจะทำให้มันดูเก่าอีกทีในขั้นตอนการเวทเธอริ่งครับ
Friday, January 1, 2016
Happy New Year 2016
Image courtesy of www.123newyear.com |
May your New Year flourish with new discoveries, wonderful inspirations, and happiness to fill your heart.
Subscribe to:
Posts (Atom)