Here are the photos of the finished vignette. This project I wanted to express the feeling of German soldiers who exhausted and sorrow from their failure in the battle, and the things they have seen during the retreat. The title "Casualties of War" in this project does not mean only an injured soldier or a civilian corpse, but it means they all have been affected by the war not only physically but mentally. War is a terrible thing, it is the concept of this project.
Although this concept can be completed with only a soldier and a civilian corpse, I put another figure on the back for a better composition. The second figure will also help to convince the viewer to imagine it is not just a story of one or two walking soldiers, maybe there are a large group of retreating soldiers out of this scene.
The base and building were made from plaster, a pile of debris made from smashed brick mixed with white glue. The painting was done with acrylics, enamels and pigments. The figures are from Dragon and a civilian arm was sculpted from Magic sculpt with a Hornet hand, all painted with Vallejo acrylics.
This is the project I have been waiting to finish for many years, I am so happy to have finally finished it. Diorama and vignette are my most favorite subject to do but it takes a lot of time and effort to finish. During the past several years, I have finished only a few pieces in both diorama and vignette. Even though diorama or vignette requires many things in order to finish the piece, it is always a pleasure to have a chance to do it. I still have many diorama and vignette projects that I have planned to do, hope I will find the chance to finish them soon.
ภาพผลงานที่เสร็จแล้วครับ งานชิ้นนี้ผมต้องการสื่อถึงเรื่องราวของทหารเยอรมันที่เหนื่อยล้าและผิดหวังจากการพ่ายแพ้ในการรบ ทำให้ต้องล่าถอยออกจากเมืองและได้เห็นถึงสภาพความโหดร้ายที่เกิดจากการสู้รบของทั้งสองฝ่าย ชื่อผลงานที่แปลว่า "ผู้สูญเสียจากสงคราม" ในที่นี่ไม่ได้หมายถึงเฉพาะทหารที่ได้รับบาดเจ็บหรือพลเมืองที่เสียชีวิตจากการสู้รบเท่านั้น แต่ยังหมายถึงทุกๆคนไม่ว่าจะเป็นทหารหรือพลเรือนนั้นต่างได้รับผลกระทบจากสงครามกันทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นทั้งทางร่างกายหรือทางจิตใจ เพราะสงครามคือสิ่งที่เลวร้ายและน่ากลัว นี่เป็นแนวความคิดที่ผมนำมาใช้ในการสร้างผลงานชิ้นนี้ครับ
ซึ่งแนวความคิดที่นำมาใช้สร้างงานนี้ จริงๆแล้วมีเพียงแค่ฟิกเกอร์ทหารหนึ่งตัวกับศพของพลเรือนก็สามารถสื่อให้เห็นถึงแนวคิดนี้ได้ แต่สาเหตุที่ผมเลือกที่จะใส่ฟิกเกอร์ทหารตัวที่สองลงไปตรงด้านหลัง เพราะมันจะช่วยให้การจัดองค์ประกอบของฉากนั้นดูน่าสนใจขึ้น รวมถึงฟิกเกอร์ตัวที่สองยังช่วยโน้มน้าวให้คนดูจินตนาการได้ว่า เรื่องราวของฉากนี้ไม่ได้มีเพียงแค่ทหารที่เดินอยู่สองคน แต่อาจจะมีกองทหารที่กำลังล่าถอยออกจากเมืองอยู่ด้านหลังขอบเขตของฉากนี้ด้วยครับ
ส่วนการทำฉากนี้ ตัวพื้นฉากและอาคารทำขึ้นมาจากปูนพลาสเตอร์ ส่วนกองเศษอิฐทำจากอิฐจริงนำมาทุบละเอียดผสมดับกาวน้ำ ทั้งหมดทำสีด้วยสีอะครีลิค อินาเมล และพิกเมนต์ครับ ส่วนฟิกเกอร์ดัดแปลงมาจากฟิกเกอร์ของ Dragon ส่วนแขนของศพพลเรือนปั้นขึ้นมาด้วย Magic sculpt และใช้ชิ้นส่วนมือของ Hornet ทั้งหมดทำสีด้วยสีอะครีลิค Vallejo ครับ
งานชิ้นนี้เป็นงานที่ผมตั้งใจอยากจะทำให้เสร็จมาหลายปี ดีใจที่ในที่สุดมันก็เสร็จเสียที ส่วนตัวแล้วผมเป็นคนที่ชื่นชอบการทำ diorama กับ vignette มากที่สุดในทั้งหมดของการทำโมเดล แต่งานประเภทนี้เป็นงานที่ตั้องใช้เวลาและความพยายามสูงในการที่จะทำให้เสร็จสักหนึ่งชิ้น โดยเฉพาะงานที่มีขนาดใหญ่จะยิ่งใช้เวลามาก ช่วงหลายปีที่ผ่านมาผมจึงทำฉากจำลองทั้งเล็กและใหญ่เสร็จได้เพียงแค่ไม่กี่ชิ้นเท่านั้น ถึงแม้ว่ามันจะต้องเหนื่อยและลงทุนลงแรงเยอะกับงานประเภทนี้ แต่ส่วนตัวก็ยังมีความสุขทุกๆครั้งที่ได้ทำมันจนเสร็จสมบูรณ์ ออกมาเป็นรูปเป็นร่างอย่างที่ตั้งใจไว้ครับ หลังจากงานชิ้นนี้แล้วผมยังมีไอเดียของฉากที่อยากจะทำอยู่อีกหลายชิ้น บางชิ้นก็ทำค้างไว้ตั้งแต่หลายปีก่อน หวังว่าจะมีโอกาสได้นำกลับมาทำต่อให้เสร็จเร็วๆนี้ครับ
Hungary 1945
Converted from Dragon (DML6194) 1/35 scale plastic kit
Click here for the finished vignette [Casualties of War]
Here is the finished base before gluing the figures in place. The weathering on the debris was done with enamel products from Ammo of Mig: Damp Earth, Earth, Light Dust, Rainmarks Effects; and pigments from various brands: Light Dust, Europe Earth, Gulf War Sand, Russian Earth. I also added some pieces of broken window glass on window frame, sill and area underneath its; it was made from miniature blister pack. The downspout was made from plastic tube and electric cord made from copper wire.
Actually this vignette is already finished but I have not taken a photo yet. I decided to wait for the new camera and will post the final photo maybe after the SCAHMS show next month.
วันนี้มีภาพงานมาอัพเดทอีกเล็กน้อยครับ จริงๆผลงานชิ้นนี้ผมทำเสร็จทั้งหมดเรียบร้อยแล้ว แต่เนื่องจากตอนนี้ยังรอกล้องใหม่อยู่เลยคิดว่าคงจะนำภาพงานที่สมบูรณ์มาลงได้ประมาณช่วงเดือนหน้าครับ วันนี้เลยนำภาพเฉพาะส่วนของฉากที่ทำเสร็จแล้วมาลงให้ชมก่อน และคงจะนำภาพฟิกเกอร์ที่เสร็จแล้วมาลงอีกทีครับ
สำหรับการทำเวทเธอริ่งบริเวณซากปรักหักพัง ผมใช้ผลิตภัณฑ์สูตรอีนาเมลของ Ammo of Mig มาทำในส่วนของคราบดินคราบฝุ่นต่างๆ โดยใช้สี Damp Earth, Earth, Light Dust และ Rainmarks Effects จากนั้นก็จะตกแต่งคราบฝุ่นและผงฝุ่นในบางจุดอีกรอบด้วยสีพิกเมนท์ Light Dust, Europe Earth, Gulf War Sand และ Russian Earth ครับ นอกจากนี้ก็จะมีรายละเอียดที่ใส่เพิ่มเข้าไปเพื่อให้ฉากนั้นดูสมบูรณ์ขึ้น เช่น เศษกระจกแตกบนบานหน้าต่างและบริเวณรอบๆ ทำจากแผ่นพลาสติกใส สายไฟทำจากลวดทองแดง และท่อน้ำทิ้งทำจากแท่งพลาสติกครับ
The painting on the second figure is nearly finished. I have not painted any camouflage for years so it was quite difficult to try to find out which colors are suitable for this camo. However, I had so much fun during the painting and the result turned out better than I expected. Maybe I will try to paint other camouflage patterns in the future.
Here is a color list for Oak Leaf type A camouflage.
Brown Base - 70825 German Camo Pale Brown
+ 70822 German Camo Black Brown + 70820 Off White
Grey Brown - 70822 German Camo Black Brown + 70995 German Grey
+ 70820 Off White (a bit)
Dark Brown - 70822 German Camo Black Brown + Black
Orange Brown - 70981 Orange Brown + Brown Base + White (a bit)
ฟิกเกอร์ตัวที่สองเพนท์เกือบเสร็จทั้งหมดแล้วครับ เหลือแค่มาเก็บรายละเอียดส่วนของอุปกรณ์และอาวุธ และทำคราบสกปรกต่างๆบนชุดอีกที ผมเองไม่ได้เพนท์ลายพรางมาหลายปี และไม่เคยเพนท์ด้วยสีวัลเลโฮมาก่อน เลยต้องมาลองเทียบสีและผสมสีด้วยตัวเอง เพื่อให้ได้สีที่ใกล้เคียงกับที่ใช้ในลายพรางของจริง แต่ก็สนุกดีครับที่ได้ทดลองทำและเรียนรู้ด้วยตัวเอง ซึ่งผลลัพท์ที่ออกมาก็ดีกว่าที่คาดเอาไว้ สิ่งสำคัญในการเพนท์ลายพรางก็คือภาพอ้างอิงที่ดี ถ้าเห็นลายและสีได้ชัดเจนจะช่วยได้มากเวลาเพนท์ครับ
หลังจากเสร็จงานชิ้นนี้ คิดว่าในอนาคตคงจะหาโอกาสลองเพนท์ลายพรางแบบอื่นๆดูบ้าง ส่วนรายชื่อของสีที่ใช้กับลายพรางนี้ลองดูได้ที่ด้านบนนะครับ
For painting the figure, I decided to paint a winter parka on both figures with different shades of field grey as I saw from the references, it will also make they look more attractive in my opinion. I used Vallejo 70830 German Field Grey WWII mixed with 70897 Bronze Green as a base color for both figures. They will look different by changing mixture ratio of the base color or adding another color into it.
As for this figure, I used the base color for pants but for the parka I added a bit of 70995 German Grey in the base color, you can see they look a bit different. However, the parka looks quite greyish in the photo but the actual color looks more greenish.
I have already finished painting this figure but have not taken a finished photo yet. Now I am working on the second figure and I will post the finished photo of them soon.
สำหรับการเพนท์ฟิกเกอร์ ผมเลือกที่จะทำสีเสื้อหนาวของทั้งสองตัวด้วยสี field grey ที่ดูเข้มอ่อนต่างกัน เหมือนอย่างที่เห็นจากภาพอ้างอิงของเสื้อหนาวแบบนี้ ที่จะมีหลายเฉดสีทั้งแบบสีอ่อนและสีเข้ม และการเลือกใช้สีของชุดที่ดูต่างกัน ไม่เป็นสีเดียวกันไปทั้งหมดยังจะช่วยทำให้งานนั้นดูน่าสนใจมากขึ้นครับ
ผมใช้สี Vallejo 70830 German Field Grey WWII ผสมกับ 70897 Bronze Green เพื่อเป็นสีพื้นสำหรับไว้เพนท์ฟิกเกอร์ทั้งสองตัว แต่จะทำให้สีของทั้งสองนั้นดูต่างกันด้วยการเปลี่ยนแปลงสัดส่วนของทั้งสองสีที่นำมาผสมกัน หรือไม่ก็ผสมสีอื่นเพิ่มเข้าไปเพื่อให้ได้สีที่ต่างจากเดิม
อย่างเช่นสีของฟิกเกอร์ตัวแรกนี้ ผมใช้สีพื้นที่ผสมไว้มาทำในส่วนของกางเกง แต่สำหรับส่วนของเสื้อหนาวจะผสมสีเทา 70995 German Grey ลงไปในสีพื้นเล็กน้อย เพื่อให้สีนั้นดูเป็นเขียวอมเทามากขึ้น ลองสังเกตดูจะเห็นความแตกต่างระหว่างสีของเสื้อกับกางเกงครับ ในภาพที่ถ่ายมาสีของเสื้อจะดูค่อนข้างออกไปทางสีเทา แต่สีจริงๆมันจะดูออกเป็นสีเขียวมากกว่านี้ครับ
ฟิกเกอร์ตัวที่เห็นนี้ ตอนนี้เพนท์เสร็จทั้งหมดแล้วครับ แต่ยังไม่ได้ถ่ายรูปไว้ ผมกำลังทำสีตัวที่สองอยู่และคงจะรอถ่ายรูปพร้อมกันทีเดียวก่อนที่จะนำไปจัดวางลงบนฉาก แล้วจะนำภาพฟิกเกอร์ทั้งสองมาลงอีกทีครับ
Just a quick update to show the difference between before and after finished painting details of the debris.
ความคืบหน้าเล็กน้อยครับ เป็นภาพก่อนและหลังทำสีรายละเอียดต่างๆของกองซากปรักหักพัง เพื่อให้ดูมีมิติของสีมากขึ้น และคุมให้โทนสีของทั้งฉากนั้นดูกลมกลืนไปในทางเดียวกัน
For making a pile of debris, I started with preparing all elements I need to put on the base such as bricks, stones, wood strips, etc. The bricks were made from plaster and painted with GSI color, these are leftovers from my previous vignette project. All of the wood elements were made from balsa wood and painted in different colors to simulate the appearance of old wood.
After everything was ready, I used white glue diluted with water and mixed with smashed brick (try to smash it into tiny pieces as much as possible). I then applied the mixture onto the pile (made from plaster) with a paintbrush. This mixture will be covered the plaster surface and make it look like a natural pile of debris. I also added some bricks, wood beams, etc., on some areas while I applied the mixture on the base in order to make it has a variety of materials that collapsed from the building.
สำหรับการทำซากปรักหักพังบนพื้น ที่เกิดจากอาคารที่โดนทำลาย ผมเริ่มจากการเตรียมองค์ประกอบต่างๆที่ผมต้องการจะใส่ลงไปในฉาก เช่น เศษอิฐทั้งแบบก้อนสี่เหลี่ยมหรือแบบเศษที่แตกออกมา เศษหิน เศษไม้ขนาดต่างๆ ฯลฯ โดยก้อนอิฐนั้นทำมาจากปูนพลาสเตอร์หล่อมาเป็นแผ่น นำมาตัดแยกทีละก้อนแล้วค่อยทำสี ก้อนอิฐที่เห็นนี้เป็นของที่เหลือจากการทำฉากครั้งก่อนที่ตอนนั้นทำสีด้วยสีกันเซ่ครับ ดังนั้นสีจึงอาจจะไม่ตรงกับสีของอิฐบนตัวอาคาร ส่วนเศษไม้ที่เห็นทำมาจากไม้บัลซ่าหลายๆขนาด แล้วทำสีให้ดูเหมือนกับไม่เก่าๆครับ
หลังจากที่เตรียมทุกอย่างเรียบร้อย ผมใช้กาวลาเท็กซ์ผสมกับน้ำให้กาวเหลวขึ้น แล้วนำเศษก้อนอิฐแดงทุบละเอียดมาผสมลงไป จากนั้นนำกาวผสมเศษอิฐนี้ทาลงบนฐานด้วยพู่กัน ซึ่งมันจะไปคลุมผิวของปูนที่ทำเป็นเนินเตรียมเอาไว้และจะทำให้ดูเหมือนกับเป็นเศษอิฐที่กองทับถมกันอยู่ครับ นอกจากนี้ตอนที่ทากาวผสมเศษอิฐลงบนฐาน ผมก็นำองค์ประกอบต่างๆที่เตรียมไว้ มาใส่และจัดวางลงไปพร้อมกัน ทั้งก้อนอิฐที่ทำจากปูน เศษไม้ต่างๆ เพื่อที่จะให้มีความหลากหลายของวัสดุที่กองทับกันอยู่จากการที่ถล่มลงมาจากตัวอาคาร
This method took some time to finish but do not worry because the mixture of white glue, water and bricks will take several hours before it starts to dry. Therefore you have plenty of time to adjust the shape or position of the brick. I applied the mixture and everything onto the base back and forth until it was completely covered and could not see the black surface. I also sprinkled dry smashed brick onto the wet mixture on some areas to create more textures. If some areas overflow with white glue, it will leave the glue stains when it dries, use a tissue to absorb the excess white glue.
วิธีการทำซากปรักหักพังแบบนี้ค่อนข้างจะใช้เวลาในการทำงานพอสมควร เพราะจะเป็นการทำไปทีละส่วนจนกว่าบริเวณนั้นจะถูกปกคลุมทั้งหมดด้วยเศษอิฐ แต่เนื่องจากส่วนผสมของกาว, น้ำ และเศษอิฐนั้นจะใช้เวลาหลายชั่วโมงกว่าที่จะเริ่มแห้ง ดังนั้นเราจึงมีเวลามากพอที่จะจัดวางและปรับแต่งรูปทรงหรือตำแหน่งของกองอิฐต่างๆครับ ซึ่งหากรู้สึกว่าส่วนไหนที่ดูโล่งไป เราสามารถนำเศษอิฐทุบมาโรยซ้ำลงไปได้ กาวที่อยู่ด้านล่างจะซึมลงในเศษที่โรยไปใหม่ทำให้มันเชื่อมเข้าด้วยกัน หรือถ้าส่วนไหนที่ดูแห้งเกินก็สามารถหยอดกาวเพิ่มลงไปได้ เพื่อให้มั่นใจว่าเวลาแห้งแล้วมันจะยึดติดกันได้ดี แต่ควรระวังนิดหนึ่งตรงที่อย่าให้กาวนั้นล้นหรือเยิ้มออกมาจากกองเศษอิฐมากเกินไป เพราะเมื่อกาวแห้งแล้ว ส่วนที่ล้นเกินมานี้จะทิ้งคราบกาวเอาไว้ ให้ใช้กระดาษทิชชู่มาซับคราบกาวส่วนที่เกินออกครับ
Once I satisfied with the position of every elements, I left the base to dry at least for eight hours. When the base is completely dry, the white glue will be strong enough to hold everything in place unless you force to break it. It also does not have any glue stains but look quite satin finish because they all covered with a very thin layer of white glue.
You can see it still needs some touch up because the color of the brick is not match with the building. If I have various colors of smashed brick and use the same color for painting bricks on the building and individual bricks made from plaster, perhaps it will be finished without any touch up.
หลังจากที่ผมพอใจกับการจัดวางตำแหน่งต่างๆแล้ว ผมทิ้งฐานให้กาวนั้นแห้งสนิทอย่างน้อยประมาณ 8 ชั่วโมงครับ และเมื่อมันแห้งสนิทดีแล้ว กาวลาเท็กซ์ที่ทำไว้จะแข็งแรงพอที่จะยึดทุกส่วนให้ติดอยู่กับที่ได้แน่นพอสมควร หากไม่เอามือไปออกแรงแกะก็จะไม่มีปัญหาครับ นำไปปัดฝุ่นด้วยแปรงหรือใช้พู่กันปัดทำสีได้ตามปกติ ซึ่งถ้าเราผสมสัดส่วนของกาวกับน้ำได้พอดี ให้กาวไม่ข้นจนเกินไป ก็จะไม่ทิ้งคราบกาวหนาๆไว้ จะเป็นเพียงชั้นฟิลม์ของกาวที่เคลือบอยู่บนผิวของกองอิฐบางๆเท่านั้น อาจจะทำให้มีลักษณะพื้นผิวออกกึ่งมันกึ่งด้านในบางจุด แต่แก้ได้ด้วยการพ่นทับด้วยเคลียร์ด้านครับ
และหากตอนที่ทำนั้นผสมกาวกับน้ำเหลวมากเกินไป เมื่อทิ้งไว้จนแห้งแล้ว กาวที่เจือจางมากไปอาจจะทำให้เศษอิฐในบางจุดนั้นยึดเกาะได้ไม่ดีและหลุดออกจากฐาน แก้ไขได้โดยการผสมกาวกับน้ำให้ไม่เหลวมากเกิน นำมาทาทับซ้ำอีกรอบให้กองอิฐนั้นดูดซับกาวลงไป แล้วปล่อยทิ้งไว้จนแห้ง กองอิฐจะยึดเกาะกันได้แน่นหนาขึ้นครับ
จะเห็นในภาพว่าสีของอิฐบางส่วนนั้น จะไม่ตรงกับสีของอิฐบนอาคารที่ทำเอาไว้ด้วยสาเหตุที่เขียนเอาไว้ตอนต้น ดังนั้นคงจะต้องมาเพนท์เก็บสีของอิฐบางส่วนกันอีกทีครับ ดังนั้นหากนำวิธีการนี้ไปทำโดยที่หาเศษก้อนอิฐแดงที่จะนำมาทุบให้มีสีที่แตกต่างกัน เข้มบ้างอ่อนบ้าง และทำก้อนอิฐจากปูนพลาสเตอร์โดยใช้สีแบบเดียวกับที่ใช้ทาบนตัวอาคาร เมื่อนำมาทำตามขั้นตอนทั้งหมดแล้ว ผลลัพท์ที่ได้คงจะแตกต่างออกไป และอาจจะไม่ต้องมีการทาเก็บสีของกองอิฐเพิ่มเลยก็เป็นได้ครับ