ข้ามไปเนื้อหา

แพทองธาร ชินวัตร

หน้าถูกกึ่งป้องกัน
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

แพทองธาร ชินวัตร
แพทองธาร ใน พ.ศ. 2566
นายกรัฐมนตรีไทย คนที่ 31
เริ่มดำรงตำแหน่ง
16 สิงหาคม พ.ศ. 2567[1]
(0 ปี 32 วัน)
กษัตริย์พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว
รอง
ก่อนหน้าภูมิธรรม เวชยชัย
(รักษาการ)
หัวหน้าพรรคเพื่อไทย
เริ่มดำรงตำแหน่ง
27 ตุลาคม พ.ศ. 2566
(0 ปี 326 วัน)
รองชูศักดิ์ ศิรินิล
จุลพันธ์ อมรวิวัฒน์
โอชิษฐ์ เกียรติก้องชูชัย
จิราพร สินธุไพร
พงศ์กวิน จึงรุ่งเรืองกิจ
เผ่าภูมิ โรจนสกุล
ก่อนหน้าชูศักดิ์ ศิรินิล
(รักษาการ)
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด21 สิงหาคม พ.ศ. 2529 (38 ปี)
กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
พรรคการเมืองเพื่อไทย (2564–ปัจจุบัน)
คู่สมรสปิฎก สุขสวัสดิ์ (สมรส 2562)
บุตรธิธาร สุขสวัสดิ์
พฤจ์ธาษิณ สุขสวัสดิ์
บุพการีทักษิณ ชินวัตร (บิดา)
พจมาน ณ ป้อมเพชร (มารดา)
ศิษย์เก่า
อาชีพ
  • นักธุรกิจ
  • นักการเมือง
ลายมือชื่อ
ชื่อเล่นอิ๊ง

แพทองธาร ชินวัตร ร.ท.ภ. (เกิด 21 สิงหาคม พ.ศ. 2529) ชื่อเล่น อิ๊ง (แต่คนส่วนมากจะเรียกว่า อุ๊งอิ๊ง ) เป็นนักธุรกิจและ นักการเมืองชาวไทย นายกรัฐมนตรีไทยคนที่ 31 และนายกรัฐมนตรีหญิงคนที่ 2 (ต่อจากยิ่งลักษณ์ ชินวัตร) จากการลงมติของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 26 เมื่อวันที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2567 เป็นนายกรัฐมนตรีหญิงที่มีอายุน้อยที่สุดในประเทศไทย ณ วันที่มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่ง (อายุ 37 ปี 361 วัน) ทำลายสถิติของหม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช นายกรัฐมนตรีไทยคนที่ 6 ซึ่งขณะเข้ารับตำแหน่งใน พ.ศ. 2488 มีอายุ 40 ปี 3 เดือน[2]

แพทองธารเกิดที่กรุงเทพมหานคร เป็นบุตรสาวคนเล็กของทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีไทยคนที่ 23 และคุณหญิงพจมาน ณ ป้อมเพชร สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีจากคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สาขาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา และระดับปริญญาโทจากการบริหารงานโรงแรมจากมหาวิทยาลัยเซอร์รีย์ ประเทศอังกฤษ เธอเป็นผู้ถือหุ้นอันดับหนึ่งของเอสซี แอสเสท คอร์ปอเรชั่น และกิจการอื่น ๆ รวมประมาณ 7 หมื่นล้านบาท

แพทองธารเข้าสู่วงการการเมืองในช่วงปลายปี พ.ศ. 2564 ในบทบาทประธานที่ปรึกษาด้านการมีส่วนร่วมและนวัตกรรมของพรรคเพื่อไทย พรรคการเมืองที่สืบต่อจากพรรคไทยรักไทยและพรรคพลังประชาชนซึ่งก่อตั้งโดยทักษิณผู้เป็นบิดา แพทองธารขึ้นเป็นหัวหน้าครอบครัวเพื่อไทยในปีถัดมา (พ.ศ. 2565) ต่อมาในการเลือกตั้งทั่วไป พ.ศ. 2566 พรรคเพื่อไทยเสนอชื่อเธอในบัญชีรายชื่อผู้สมควรดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ร่วมกับเศรษฐา ทวีสิน และศาสตราจารย์พิเศษชัยเกษม นิติสิริ

หลังการเลือกตั้งดังกล่าว พรรคเพื่อไทยและพรรคร่วมรัฐบาล 11 พรรคเสนอชื่อเศรษฐาในการลงมติของที่ประชุมร่วมรัฐสภาในรอบที่ 3 และที่ประชุมดังกล่าวให้ความเห็นชอบ ส่งผลให้เขาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ภายหลังจัดตั้งรัฐบาลแล้วเสร็จ เขาได้แต่งตั้งให้แพทองธารดำรงตำแหน่งรองประธานคณะกรรมการยุทธศาสตร์ซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ ประธานคณะกรรมการพัฒนาซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ และรองประธานคณะกรรมการพัฒนาระบบสุขภาพแห่งชาติ และในช่วงปลายเดือนตุลาคม เธอได้รับการลงมติจากที่ประชุมพรรคเพื่อไทยให้ดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรค

ต่อมาเมื่อเศรษฐาถูกศาลรัฐธรรมนูญถอดถอนจากตำแหน่งเมื่อวันที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2567 จากกรณีกราบบังคมทูลแต่งตั้งพิชิต ชื่นบาน เป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ทั้งที่เคยได้รับโทษทางอาญามาก่อน พรรคเพื่อไทยและพรรคร่วมรัฐบาลเดิมจึงได้เสนอชื่อแพทองธารดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และผ่านความเห็นชอบจากสภาผู้แทนราษฎรในอีกสองวันถัดมา แพทองธารจึงได้ดำรงตำแหน่งดังกล่าว มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งในวันเดียวกัน และเธอได้รับพระบรมราชโองการในอีกสองวันถัดมา

ประวัติ

แพทองธาร ชินวัตร เกิดเมื่อวันที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2529 ที่กรุงเทพมหานคร เป็นบุตรสาวคนเล็กของทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี และคุณหญิงพจมาน ณ ป้อมเพชร มีพี่สองคนคือ พานทองแท้ ชินวัตร และพินทองทา คุณากรวงศ์ แพทองธารชื่อเล่น “อิ๊ง” แต่ทางบ้านมักขานว่า “อุ๊งอิ๊ง”[3] ทำให้สื่อมวลชนเรียกโดยปริยาย[4]

แพทองธารสำเร็จการศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาจากโรงเรียนเซนต์โยเซฟคอนเวนต์ และโรงเรียนมาแตร์เดอีวิทยาลัย โดยในระหว่างช่วงเวลาดังกล่าว เธอได้ไปฝึกงานที่ร้านแมคโดนัลด์ สาขาสยามดิสคัฟเวอรี[5][6] ต่อมาเธอสำเร็จการศึกษาปริญญาตรีรัฐศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในปี พ.ศ. 2551 จากนั้นไปศึกษาต่อที่ประเทศอังกฤษ สาขาวิชา Msc International Hotel Management ที่มหาวิทยาลัยเซอร์รีย์ และในปี พ.ศ. 2567 ได้เข้าศึกษาที่ วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร หลักสูตรการป้องกันราชอาณาจักร สำหรับผู้บริหารแห่งอนาคต รุ่นที่ 1 โดยมีเพื่อนร่วมรุ่น เช่น รัดเกล้า สุวรรณคีรี, พชร นริพทะพันธุ์ และชัยชนะ เดชเดโช เป็นต้น[7]

แพทองธารเป็นผู้ถือหุ้นอันดับ 1 บริษัท เอสซี แอสเสท คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) และกรรมการมูลนิธิไทยคม นอกจากนี้เธอยังเป็นผู้ถือหุ้นในกิจการอื่น ๆ เช่น โรงแรมโรสวู๊ด กรุงเทพ[8],เทมส์ วัลลีย์ เขาใหญ่[9] และเดอะ ซิสเตอส์ เนลส์ แอนด์ มอร์[10] เป็นต้น ทั้งนี้ ในปี พ.ศ. 2565 เธอถือหุ้นรวมทั้งหมด 21 บริษัท มูลค่าประมาณ 68,000 ล้านบาท[11] นอกจากนี้เธอยังเคยทำธุรกิจ ร้านทำเล็บ The Sisters Nails & More ที่ สยามพารากอนร่วมกับพี่สาว[12] ซึ่งปิดตัวลงในปี 2565[13] และเคยทำงานด้านอสังหาริมทรัพย์[14] เป็นประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มธุรกิจโรงแรม บริษัท เรนด์ ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด[15][16]

แพทองธารสมรสกับปิฎก สุขสวัสดิ์ โดยทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี เสด็จเป็นองค์ประธานในพิธีมงคลสมรสของทั้งคู่ เมื่อวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2562 ณ โรงแรมโรสวู๊ด เขตบริหารพิเศษฮ่องกงแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน[17] ทั้งสองมีบุตรสาว คือ ธิธาร สุขสวัสดิ์[18] เกิดเมื่อวันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2564[19][20] และมีบุตรชาย คือ พฤจ์ธาษิณ สุขสวัสดิ์ เกิดเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2566 ก่อนการเลือกตั้งใหญ่ในเดือนเดียวกัน[21]

ลำดับสาแหรก

บทบาททางการเมือง

หัวหน้าครอบครัวเพื่อไทย

การประชุมใหญ่สามัญประจำปีของพรรคเพื่อไทย เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2564 ที่ศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติ จังหวัดขอนแก่น สมพงษ์ อมรวิวัฒน์ หัวหน้าพรรคเพื่อไทย ซึ่งได้ประกาศลาออกในงานนั้น ได้ประกาศเปิดตัวแพทองธารเป็นประธานที่ปรึกษาด้านการมีส่วนร่วมและนวัตกรรมของพรรค[22]

ในการประชุมของพรรคเพื่อไทยเมื่อวันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2565 เธอได้รับตำแหน่ง "หัวหน้าครอบครัวเพื่อไทย"[23] สมชัย ศรีสุทธิยากร อดีตคณะกรรมการการเลือกตั้ง วิเคราะห์ว่าตำแหน่งดังกล่าวเป็นการทะลายข้อจำกัดในการดำเนินงานของพรรคการเมือง และปูทางให้พรรคเพื่อไทยเสนอชื่อเธอเป็นผู้ถูกเสนอชื่อเป็นนายกรัฐมนตรีในการเลือกตั้งครั้งถัดไป[24] เธอกล่าวในการประชุมใหญ่สามัญประจำปีของพรรคเพื่อไทยเมื่อเดือนเมษายน พ.ศ. 2565 ระบุว่าหัวหน้าครอบครัวกับหัวหน้าพรรคเป็นคนละตำแหน่งกัน แต่ไม่ได้กล่าวอย่างชัดเจนว่าเธอจะเป็นแคนดิเดตนายกรัฐมนตรีของพรรคเพื่อไทยหรือไม่[25]

ในช่วงปลายเดือนธันวาคม พ.ศ. 2565 ประเสริฐ จันทรรวงทอง เลขาธิการพรรคเพื่อไทย กล่าวว่าทางพรรคได้มอบหมายให้ ส.ส. และผู้สมัคร ส.ส. นำนโยบายที่พรรคได้ประกาศเมื่อวันที่ 6 ธันวาคม ปีเดียวกัน มาขึ้นป้ายหาเสียงชุดแรกก่อนการเลือกตั้งที่จะมีขึ้นในปีถัดไป จำนวน 8 รูปแบบ โดยทุกป้ายในชุดดังกล่าวจะมีภาพเธอในฐานะหัวหน้าครอบครัวเพื่อไทยอยู่ทางมุมขวาล่างของป้ายขนาดปกติ หรือด้านล่างในกรณีป้ายขนาดที่ความกว้างลดลงมาจากป้ายขนาดปกติ[26]

แคนดิเดตนายกรัฐมนตรี

ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2566 เธอกล่าวว่าพร้อมที่จะเป็นแคนดิเดตนายกรัฐมนตรีของพรรคเพื่อไทย อีกทั้งระบุพร้อมจะจับมือกับทุกพรรคหากมีความคิดเรื่องนโยบายตรงกัน, เห็นพ้องในความเป็นประชาธิปไตย และเคารพเสียงของประชาชน แต่ปฏิเสธว่ายังไม่ได้มีการพูดคุยกับพลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ หัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) แต่อย่างใด[27] จากนั้นในปลายเดือนกุมภาพันธ์ พรรคเพื่อไทยแต่งตั้งให้ เศรษฐา ทวีสิน เป็นประธานที่ปรึกษาหัวหน้าครอบครัวเพื่อไทย โดยเศรษฐามีหน้าที่ให้คำปรึกษาหรือดำเนินการตามที่แพทองธารมอบหมาย[28] ต่อมาในเดือนมีนาคมปีเดียวกัน เธอให้สัมภาษณ์กับเดอะสแตนดาร์ด ระบุหากพรรคพลังประชารัฐมีจุดยืนไม่เอารัฐประหารเช่นเดียวกับพรรคเพื่อไทย ก็พร้อมจะพูดคุย แต่ไม่ได้ยืนยันว่าจะรวมเสียงเพื่อจัดตั้งรัฐบาลกับ พปชร. หรือไม่[29] เดือนถัดมาพรรคเพื่อไทยเสนอเธอในบัญชีรายชื่อผู้สมควรดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี พร้อมกับเศรษฐาและชัยเกษม นิติสิริ[30][31]

หลังจากมีการเลือกตั้งครั้งใหญ่ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2566 พรรคเพื่อไทยได้จำนวน ส.ส. เป็นอันดับ 2 รองจากพรรคก้าวไกล เธอกล่าวว่าตนเองก็มีความผิดหวังที่พรรคไม่ได้อันดับ 1 ตามแผน แต่ก็พร้อมทำงานร่วมกับพรรคก้าวไกล รวมถึงพรรคอื่น ๆ ที่จะจับขั้วร่วมกับทั้งสองพรรคดังกล่าว[32] แต่ต่อมาภายหลังจากที่พรรคเพื่อไทยยกเลิกบันทึกความเข้าใจจัดตั้งรัฐบาลร่วมกับพรรคก้าวไกลแล้ว ในวันที่ 9 สิงหาคม เธอและผู้บริหารพรรคเพื่อไทยได้เดินเท้าจากอาคารโอเอไอที่ทำการพรรค ไปยังอาคารไทยซัมมิทที่อยู่ติดกัน เพื่อร่วมหารือกับแกนนำพรรคก้าวไกลในการพิจารณาให้ความเห็นชอบบุคคลซึ่งสมควรได้รับการแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี ครั้งที่ 3[33] ซึ่งวันถัดมามีกระแสข่าวว่าแพทองธารได้แจ้งกับแกนนำพรรคก้าวไกลว่าพรรคเพื่อไทยจำเป็นต้องนำพรรคพลังประชารัฐ ซึ่งมีพลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ เป็นหัวหน้าพรรค เข้าร่วมรัฐบาล[34] และส่งผลให้พรรคก้าวไกลมีมติในอีก 6 วันถัดมาว่า ไม่สนับสนุนบุคคลซึ่งสมควรได้รับการแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีของพรรคเพื่อไทย[35]

การดำรงตำแหน่งในรัฐบาลเศรษฐา ทวีสิน

ในวันที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2566 ในการประชุมนัดแรกของคณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 63 เศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ได้มีข้อสั่งการให้แต่งตั้งคณะกรรมการยุทธศาสตร์ซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ และแต่งตั้งให้แพทองธารเป็นรองประธานกรรมการ[36] ต่อมาเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม เศรษฐาได้แต่งตั้งเธอเพิ่มอีก 2 ตำแหน่ง คือ ประธานกรรมการในคณะกรรมการพัฒนาซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ[37] และกรรมการในคณะกรรมการอำนวยการจัดงานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567[38] และต่อมาเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม เศรษฐาได้แต่งตั้งเธอเป็นรองประธานกรรมการในคณะกรรมการพัฒนาระบบสุขภาพแห่งชาติอีกตำแหน่งหนึ่ง[39]

หัวหน้าพรรคเพื่อไทย

หลังจากที่ชลน่าน ศรีแก้ว ประกาศลาออกจากหัวหน้าพรรคเพื่อไทย เพื่อรับผิดชอบคำพูดของตนหลังจากนำพรรครวมไทยสร้างชาติ (รทสช.) และพรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) เข้าร่วมรัฐบาลเมื่อวันที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2566 ส่งผลให้กรรมการบริหารพรรคชุดเดิมสิ้นสุดลงทั้งคณะ[40] ได้มีกระแสข่าวว่าสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของพรรคเพื่อไทยจะสนับสนุนให้แพทองธารเป็นหัวหน้าพรรคคนใหม่[41] ซึ่งในวันที่ 20 ตุลาคม ในงานไทยแลนด์เกมโชว์ที่ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ที่เธอไปร่วมพิธีเปิดงานในฐานะรองประธานคณะกรรมการยุทธศาสตร์ซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ เธอกล่าวว่าพร้อมรับการเสนอชื่อเช่นกัน[42][43] ต่อมาเมื่อวันที่ 27 ตุลาคม พรรคเพื่อไทยได้จัดการประชุมใหญ่วิสามัญเพื่อเลือกกรรมการบริหารพรรคชุดใหม่ และที่ประชุมมีมติเลือกแพทองธารเป็นหัวหน้าพรรคคนใหม่เป็นคนที่ 8 โดยเธอเป็นผู้หญิงคนแรกที่ดำรงตำแหน่งดังกล่าว[44][45]

การได้รับเลือกเป็นนายกรัฐมนตรี

ภายหลังศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้เศรษฐา ทวีสิน พ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2567 เดิมมีกระแสข่าวว่าพรรคเพื่อไทยจะเสนอชื่อชัยเกษม นิติสิริ ให้สภาผู้แทนราษฎรพิจารณาให้ความเห็นชอบแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีในนามพรรคเพื่อไทยในการลงมติในวันที่ 16 สิงหาคม แต่วันที่ 15 สิงหาคม ที่ประชุมสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสังกัดพรรคเพื่อไทยมีความเป็นห่วงในเรื่องปัญหาสุขภาพของชัยเกษม จึงมีมติให้การสนับสนุนเธอให้สภาผู้แทนราษฎรพิจารณาให้ความเห็นชอบแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีในนามพรรคเพื่อไทยแทน[46] ซึ่งครอบครัวชินวัตรรับฟังความต้องการของ สส. พรรคเพื่อไทย และยินยอมให้พรรคเสนอชื่อแพทองธาร[47] โดยที่ประชุม สส. พรรคเพื่อไทย ได้มอบอำนาจให้คณะกรรมการบริหารพรรคเพื่อไทยออกเป็นมติในการเสนอชื่อบุคคลซึ่งสมควรได้รับแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี[48] และในเวลาต่อมาคณะกรรมการบริหารพรรคได้มีมติเสนอชื่อเธอ[49] ช่วงเย็นวันเดียวกันแพทองธารพร้อมด้วยแกนนำพรรคการเมืองฝ่ายรัฐบาลทั้งหมด 11 พรรคที่เป็นชุดเดิมที่เคยจัดตั้งคณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 63 ได้ร่วมกันแถลงข่าวที่อาคารชินวัตร 3 สรวงศ์ เทียนทอง เลขาธิการพรรคเพื่อไทย กล่าวว่าทุกพรรคมีจุดยืนตรงกันที่จะเสนอชื่อเธอให้สภาผู้แทนราษฎรพิจารณาในวันรุ่งขึ้น[50][51]

ต่อมาในวันรุ่งขึ้น (16 สิงหาคม) ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ครั้งที่ 15 (สมัยสามัญประจำปีครั้งที่หนึ่ง) เป็นพิเศษ สรวงศ์ได้เสนอชื่อแพทองธารเป็นบุคคลซึ่งสมควรได้รับแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี ตามมาตรา 159 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560[52] และที่ประชุมมีมติเห็นชอบให้เธอดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนที่ 31 ด้วยคะแนนเห็นชอบ 319 เสียง ไม่เห็นชอบ 145 เสียง งดออกเสียง 27 เสียง และไม่มาประชุม 2 คน คือ ร้อยตำรวจเอก เฉลิม อยู่บำรุง และ พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ[53] ทำให้เธอเป็นนายกรัฐมนตรีหญิงคนที่ 2 ของประเทศไทยต่อจากยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ผู้เป็นอา เป็นนายกรัฐมนตรีที่อายุน้อยที่สุดในประวัติศาสตร์การเมืองไทย ณ วันที่ได้รับตำแหน่ง ด้วยอายุ 37 ปี 11 เดือน 25 วัน[54] อีกทั้งเป็นผู้นำรัฐบาลอายุน้อยที่สุดเป็นอันดับ 5 ของโลก[55] และนายกรัฐมนตรีหญิงอายุน้อยที่สุดในโลกเป็นอันดับ 3[56] มีพระบรมราชโองการแต่งตั้งอย่างเป็นทางการในวันเดียวกัน[57] และมีพิธีรับพระบรมราชโองการเมื่อวันที่ 18 สิงหาคม ณ อาคารวอยซ์ สเปซ (วอยซ์ทีวีเดิม) ซึ่งพรรคเพื่อไทยใช้เป็นที่ทำการแห่งใหม่ของพรรค[58]

การดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี

ข้อวิพากษ์วิจารณ์

ผู้ถือหุ้นสนามกอล์ฟอัลไพน์

สนามกอล์ฟอัลไพน์ ตั้งอยู่ที่อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี เจ้าของเดิมคือเนื่อม ชำนาญชาติศักดา บริจาคให้แก่วัดธรรมิการามวรวิหารใน พ.ศ. 2512 ต่อมาใน พ.ศ. 2533 ที่ดินดังกล่าวซึ่งเป็นที่ธรณีสงฆ์ถูกขายและโอนให้แก่บริษัท อัลไพน์ เรียลเอสเตท จำกัด และบริษัท อัลไพน์ กอล์ฟ แอนด์ สปอร์ตคลับ จำกัด ซึ่งมีผู้ถือหุ้นคืออุไรวรรณ เทียนทอง ภริยาของเสนาะ เทียนทอง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย และชูชีพ หาญสวัสดิ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ ต่อมาใน พ.ศ. 2540 ที่ดินดังกล่าวถูกขายต่อให้แก่คุณหญิงพจมาน ชินวัตร ภริยาของทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และยงยุทธ วิชัยดิษฐ รองปลัดกระทรวงมหาดไทย มีคำสั่งเพิกถอนคำสั่งกรมที่ดินที่ให้ยกเลิกโฉนดสำหรับที่ดินดังกล่าวเนื่องจากเป็นที่ธรณีสงฆ์ ภายหลังคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติมีมติใน พ.ศ. 2555 ว่า การกระทำของยงยุทธเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต และศาลยุติธรรมชั้นต้นและชั้นอุทธรณ์พิพากษาจำคุกยงยุทธ 2 ปีใน พ.ศ. 2562[59][60][61] ปัจจุบันบริษัททั้งสองมีผู้ถือหุ้นคือคุณหญิงพจมานและบุตรทั้งสามซึ่งรวมถึงแพทองธารด้วย[62][63][64]

การสอบเข้ามหาวิทยาลัย

ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2547 แพทองธารได้สอบเข้าระดับอุดมศึกษา (เอนทรานซ์) ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แต่ถูกตั้งข้อสังเกตว่า เธอสามารถเข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยได้โดยมีเกรดเฉลี่ยสะสมระดับมัธยมศึกษาตอนปลายต่ำกว่า 2.75[65][66] อีกทั้งยังมีคะแนนสอบในครั้งที่สองสูงกว่าครั้งที่หนึ่งเป็นอย่างมาก[67] สามเดือนต่อมา อดิศัย โพธารามิก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการในขณะนั้น ออกแถลงการณ์ระบุไม่พบหลักฐานชี้ชัดว่าข้อสอบเอนทรานซ์รั่ว แต่ให้ภาคฑัณท์และตักเตือนแก่ศาสตราจารย์ ร้อยตำรวจเอก ดร.วรเดช จันทรศร เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา และศศิธร อหิงสโก ผู้อำนวยการสำนักทดสอบกลาง กรณีเปิดซองข้อสอบ[68][69][70] ต่อมาวรเดชลาออกราชการ หลังจากกระทรวงศึกษาธิการเรียกไปรับทราบผลสอบสวน[71] ในเดือนสิงหาคมปีถัดมาวรเดชได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้ช่วยรัฐมนตรี[72]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

อ้างอิง

  1. ประกาศแต่งตั้งนายกรัฐมนตรี ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๔๑ ตอนพิเศษ ๒๒๔ ง หน้า ๑ วันที่ ๑๘ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๖๗
  2. "17 ก.ย.2488 ครั้งแรก! เก้าอี้นายกฯหนุ่ม ม.ร.ว. เสนีย์ ปราโมช". komchadluek. 2018-09-17.
  3. "อุ๊งอิ๊ง – จากลูกสาวติดพ่อ ที่ยืนยัน 'ลงเลือกตั้งเพื่อประเทศ ไม่ใช่ครอบครัว'". workpointTODAY.
  4. "รู้จัก 'แพทองธาร ชินวัตร' จากปากคำของเธอและคนในครอบครัว". Spacebar.
  5. "ประวัติ แพทองธาร นายหญิงเพื่อไทยคนใหม่ ? ถึงเวลา ชินวัตร ต้องบัญชาการเกเอง". springnews. 2023-10-26.
  6. ย้อนอดีต 20 ปี อุ๊งอิ๊ง บนปกมติชนสุดสัปดาห์ จากพนง.แม็คโดนัลด์ ถึงหัวหน้าเพื่อไทย
  7. ฐานเศรษฐกิจ (2024-02-28). "ส่อง มินิ วปอ.บอ.รุ่น 1 อุ๊งอิ๊ง-ลูกหลานนามสกุลดังพรึ่บ". thansettakij.
  8. isranews (2021-08-28). "ปี 63 ขาดทุน 396 ล.! ธุรกิจ รร.'เอม พินทองทา'ก่อนหยุดให้บริการ Rosewood Bangkok". สำนักข่าวอิศรา.
  9. "รับลมเย็นๆ พร้อมปิคนิค สนามหญ้า "เทมส์ วัลลีย์ เขาใหญ่"". ข่าวสด. 2017-12-04.
  10. ""The Sisters Nails & More" ความสุขที่อยากแบ่งปันของพี่น้องทายาทหมื่นล้าน". www.thairath.co.th. 2012-11-10.
  11. ฐานเศรษฐกิจดิจิทัล (2022-03-20). "เจาะขุมทรัพย์ อุ๊งอิ๊ง แพทองธาร ชินวัตร ทรัพย์สินอู้ฟู่ 6.8 หมื่นล้าน". thansettakij.
  12. "เอม-อิ๊ง เปิดร้านทำเล็บระดับเฟิร์สคลาส- คุณหญิงพจมานโผล่ร่วมยินดี". kapook.com. 2012-11-11.
  13. isranews (2024-08-17). "เลิกแล้ว! สปาเล็บในห้างดัง 'อุ๊งอิ๊ง-เอม ชินวัตร' ขาดทุน 7.9 ล." สำนักข่าวอิศรา.
  14. isranews (2018-07-23). "โตแล้วแต่งงานได้! 'อุ๊งอิ๊ง'ลูกสาวทักษิณ ใช้ 251 ล. ตั้ง บ.อสังหาฯ 2 แห่งรวด". สำนักข่าวอิศรา.
  15. "จาก "ร้านทำเล็บ" สู่ "เรนด์ ดีเวลอปเม้นท์" "เอม-อิ๋ง"กางปีกรุกหนักธุรกิจ". mgronline.com. 2012-12-01.
  16. "เอม-อุ๊งอิ๊ง ลุยอสังหาริมทรัพย์ ธุรกิจหมื่นล้าน". www.sanook.com/money. 2012-11-23.
  17. "ทูลกระหม่อม เสด็จงานสมรส "แพทองธาร ชินวัตร"". workpointTODAY.
  18. "แพทองธาร" สุดปลื้ม คลอดลูกสาว น่ารักน่าชัง แล้ว ชื่อเล่น "น้องธิธาร"
  19. "แพทองธาร ชินวัตร เปิดใจหน้าที่คุณแม่กับบทบาทการเมือง". www.thairath.co.th. 2023-05-03.
  20. ""อุ๊งอิ๊งค์ แพทองธาร" คลอด "น้องธิธาร" ลูกคนแรกแล้ว "ทักษิณ" ปลื้มหลานหน้าเหมือน". www.sanook.com/news. 2021-01-10.
  21. "เลือกตั้ง 2566 : ครอบครัวชินวัตรได้ข่าวดี "อุ๊งอิ๊งค์" คลอดลูกชาย คนที่ 2
  22. "Thai opposition party seeks review of security laws after protest arrests". Reuters (ภาษาอังกฤษ). 1 November 2021. สืบค้นเมื่อ 2 November 2021.
  23. matichon (2022-03-20). "เปิดตัว 'อุ๊งอิ๊ง' หัวหน้าครอบครัวเพื่อไทย ลุยสร้างบ้านหลังใหญ่หัวใจเดิม". มติชนออนไลน์.
  24. ""สมชัย" ชี้ "เพื่อไทย" ใช้ช่องเป็น "สมาชิกครอบครัว" เลี่ยงเก็บค่าสมาชิก". bangkokbiznews. 2022-03-20.
  25. ""อุ๊งอิ๊ง" บอกไม่ได้พร้อมเป็นแคนดิเดตนายกฯหรือไม่ อ้างยังไม่ถูกเลือก ยันในพรรคไม่สับสนใครหัวหน้า". mgronline.com. 2022-04-24.
  26. "อุ๊งอิ๊ง สั่งเพื่อไทยขึ้นป้ายหาเสียงทั่วประเทศ ปีใหม่นายกฯ คนใหม่". ประชาชาติธุรกิจ. 2022-12-29.
  27. "แพทองธาร พร้อมเป็นนายกฯ เพื่อไทย ไม่จับมือประวิตร พลังประชารัฐ". ประชาชาติธุรกิจ. 2023-01-15.
  28. "เพื่อไทย ตั้ง "เศรษฐา ทวีสิน" เป็นประธานที่ปรึกษาหัวหน้าครอบครัวเพื่อไทย". ไทยรัฐ. 2023-03-01. สืบค้นเมื่อ 2023-08-14.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  29. "อุ๊งอิ๊ง แพทองธาร เบ้าหลอมชินวัตร ความฝันแลนด์สไลด์ และนายกฯ ต้องมาจากเพื่อไทย". THE STANDARD. 2023-03-28.
  30. matichon (2023-03-27). "เพื่อไทย เคาะแล้ว 'ชัยเกษม นิติสิริ' แคนดิเดตนายกฯ ชื่อที่ 3". มติชนออนไลน์.
  31. ตามคาด! เพื่อไทย ยื่น 3 ชื่อแคนดิเดตนายกฯ ‘อุ๊งอิ๊ง-เศรษฐา-ชัยเกษม’
  32. matichon (2023-05-15). "เพื่อไทย ยอมรับผิดหวัง เป็นรองก้าวไกล ยินดีโหวต 'พิธา' นายกฯ ให้ กก.บห.คุยดีลตั้ง รบ". มติชนออนไลน์.
  33. ""แพทองธาร" ยัน ก้าวไกล-เพื่อไทย ไม่มีปัญหากัน-"ภูมิธรรม" อุบตอบเรื่องกลับไปจับมือ (คลิป)". www.thairath.co.th. 2023-08-09.
  34. "เบื้องหลัง"อุ๊งอิ๊ง"ถกก้าวไกลแจ้งจำเป็นต้องพึ่งพรรค"ลุงป้อม"ตั้งรัฐบาล". ฐานเศรษฐกิจ. 10 สิงหาคม 2023. สืบค้นเมื่อ 11 มกราคม 2024.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  35. "'ก้าวไกล' ไม่โหวตเห็นชอบให้แคนดิเดตนายกฯ ของรัฐบาลข้ามขั้ว ขัดเจตนารมณ์ประชาชน ดันวาระประชาชนไม่ได้". prachatai.com.
  36. "ตั้ง "อุ๊งอิ๊ง" นั่งรองประธานยุทธศาสตร์ซอฟต์เพาเวอร์". ผู้จัดการออนไลน์. 2023-09-13. สืบค้นเมื่อ 2023-09-13.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  37. แผนรัฐเคลื่อน ซอฟต์พาวเวอร์ 4 ล้านล้าน เปิด ‘รีสกิล’ 20 ล้านครัวเรือนต้นปี 67
  38. สรุปข่าวการประชุมคณะรัฐมนตรี 3 ตุลาคม 2566
  39. "นายกฯ เซ็นตั้งบอร์ดพัฒนาระบบสุขภาพแห่งชาติ ดึง "อุ๊งอิ๊ง" นั่งรองประธาน". ผู้จัดการออนไลน์. 8 ตุลาคม 2023. สืบค้นเมื่อ 7 มกราคม 2024.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  40. “หมอชลน่าน” ประกาศลาออกจากหัวหน้าพรรคเพื่อไทยแล้ว - “ชูศักดิ์” นั่งรักษาการแทน
  41. "เพื่อไทย ดัน อุ๊งอิ๊ง นั่งหัวหน้าคนใหม่ เดินเครื่องรีแบรนด์ นำเพื่อไทยคัมแบ๊กเบอร์หนึ่ง". มติชน. 30 กันยายน 2023. สืบค้นเมื่อ 13 มกราคม 2024.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  42. ""อิ๊งค์" ยิ้มรับ นั่งหัวหน้าเพื่อไทย-ดัน อุตสาหกรรมเกม สู่ ซอฟต์พาวเวอร์". www.thairath.co.th. 2023-10-20.
  43. ""แพทองธาร" วอนประชาชน อดใจรอเงินดิจิทัลวอลเล็ต อาจไม่ทัน 1 ก.พ.นี้". pptvhd36. 2023-10-20.
  44. "มติเพื่อไทย เลือก "แพทองธาร" หัวหน้าพรรคคนใหม่". องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย. 2023-10-27. สืบค้นเมื่อ 2023-10-27.
  45. แจ๊ค (2024-08-15). "ฉบับวันที่ 16 สิงหาคม 2567".
  46. "มติสส.เพื่อไทย ดัน แพทองธาร โหวตชิงนายกรัฐมนตรี 16 ส.ค." โพสต์ทูเดย์. 15 สิงหาคม 2024. สืบค้นเมื่อ 15 สิงหาคม 2024.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  47. "สะพัด จ่อชงชื่อ "อิ๊งค์ แพทองธาร ชินวัตร" ชิงนายกฯ คนที่ 31". ไทยรัฐ. 15 สิงหาคม 2024. สืบค้นเมื่อ 15 สิงหาคม 2024.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  48. "วงสส.เพื่อไทยชงชื่อ"อุ๊งอิ๊ง"ให้สภาโหวตเป็นนายกฯคนใหม่". ฐานเศรษฐกิจ. 15 สิงหาคม 2024. สืบค้นเมื่อ 15 สิงหาคม 2024.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  49. "ด่วน! กก.บห.เพื่อไทย เสนอชื่อ "แพทองธาร ชินวัตร" นั่งนายกฯ". กรุงเทพธุรกิจ. 15 สิงหาคม 2024. สืบค้นเมื่อ 15 สิงหาคม 2024.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  50. "มติเพื่อไทย-พรรคร่วมรัฐบาล "แพทองธาร" นั่งนายกรัฐมนตรี". ไทยพีบีเอส. 15 สิงหาคม 2024. สืบค้นเมื่อ 15 สิงหาคม 2024.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  51. "หน้า 1 หนังสือพิมพ์มติชนรายวัน ฉบับวันศุกร์ที่ 16 สิงหาคม 2567".
  52. "เริ่มแล้ว! สภาโหวต นายกฯ คนที่ 31 สรวงศ์ ชงชื่อ 'อิ๊งค์ แพทองธาร' แบบไร้คู่แข่ง". ข่าวสด. 16 สิงหาคม 2024. สืบค้นเมื่อ 16 สิงหาคม 2024.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  53. "มติสภา 319:145 โหวตหนุน แพทองธาร ชินวัตร นั่งนายกฯ คนที่ 31". บีบีซีไทย. 16 สิงหาคม 2024. สืบค้นเมื่อ 16 สิงหาคม 2024.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  54. isranews (2024-08-16). "666 วัน เส้นทางการเมือง สู่เก้าอี้นายกฯคนที่ 31 'แพทองธาร ชินวัตร'". สำนักข่าวอิศรา.
  55. "แพทองธาร ชินวัตร ติดอันดับ 5 ผู้นำประเทศอายุน้อยที่สุดในโลก". www.thairath.co.th. 2024-08-16.
  56. ""อุ๊งอิ๊งค์ แพทองธาร" ว่าที่นายกฯ หญิงอายุน้อยเป็นอันดับ 3 ของโลก". พีพีทีวี. 16 สิงหาคม 2024. สืบค้นเมื่อ 16 สิงหาคม 2024.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  57. "โปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง "แพทองธาร ชินวัตร" เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 31". คมชัดลึก. 18 สิงหาคม 2024. สืบค้นเมื่อ 18 สิงหาคม 2024.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  58. ""แพทองธาร" รับสนองพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งนายกรัฐมนตรีคนที่ 31". 18 สิงหาคม 2024. สืบค้นเมื่อ 18 สิงหาคม 2024.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  59. ฐานเศรษฐกิจดิจิทัล (2023-01-10). "ย้อนรอย "คดีสนามกอล์ฟอัลไพน์" มหากาพย์แห่งยุค". thansettakij.
  60. ฐานเศรษฐกิจดิจิทัล (2023-01-10). "ย้อนรอย "คดีสนามกอล์ฟอัลไพน์" มหากาพย์แห่งยุค". thansettakij.
  61. "ย้อนรอยคดีสนามกอล์ฟอัลไพน์". amarintv.com. 2024-01-09.
  62. ""จตุพร" ฟันธง "อุ๊งอิ๊ง" จบแบบเดียวกับ "เศรษฐา" ไม่เกินมกราคมปีหน้า". mgronline.com. 2024-08-18.
  63. ""อัลไพน์" ที่ดินบาป ลาก "โอ๊ค-เอม-อิ๊ง" จมกองไฟ". thansettakij. 2020-02-21.
  64. "คอลัมน์การเมือง - หัวหน้าครอบครัวเพื่อไทย ควรจะมีคำตอบที่ชัดเจน". naewna. 2022-05-02.
  65. นิเทศศาสตร์จุฬา การแก้คุณสมบัติ
  66. เอนทรานซ์ปัญหาคาใจ
  67. ""ไชยันต์ ไชยพร" ย้อนรอย "ข้อสอบรั่ว" ช่วย "อุ๊งอิ๊ง" ได้คะแนนสูงมหัศจรรย์". สยามรัฐ. 2021-10-29.
  68. กรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงฯ ชุด "ดร.สุเมธ" เป็นประธาน ระบุชัด เอ็นท์ไม่รั่ว ชี้ "วรเดช"-"ศศิธร อหิงสโก" มีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม พร้อม แต่งตั้ง "วีรศักดิ์ วงศ์สมบัติ" เป็นประธานคณะกรรมการสอบสวนทางวินัยต่อไป
  69. อดิศัยเจิมเก้าอี้ศธ.รอบสอง เปิดผลสอบวรเดชพ้นผิดเอนทรานซ์รั่ว
  70. เปิดผลสืบสวนเอ็นทรานซ์’ 47 ฉบับเต็ม
  71. "วรเดชไขก๊อกลาออกหลังพ้นผิด "อ.กาญจนา" ชี้โทษเบาทำเอนทรานซ์เสื่อม". mgronline.com. 2005-03-11.
  72. "แม้วไม่ทิ้ง "วรเดช" บำเหน็จเก้าอี้ ผช.รัฐมนตรี | ประชาไท Prachatai.com". prachatai.com. 2024-08-18.
  73. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ประจำปี ๒๕๔๘, เล่ม ๑๒๒ ตอนที่ ๒๒ ข หน้า ๘, ๓ ธันวาคม ๒๕๔๘

แหล่งข้อมูลอื่น

ก่อนหน้า แพทองธาร ชินวัตร ถัดไป
เศรษฐา ทวีสิน
(นายกรัฐมนตรี)
ภูมิธรรม เวชยชัย
(รักษาการนายกรัฐมนตรี)

นายกรัฐมนตรีไทย คนที่ 31
(ครม. 64)

(16 สิงหาคม พ.ศ. 2567 - ปัจจุบัน)
อยู่ในวาระ
ชูศักดิ์ ศิรินิล
(รักษาการ)

หัวหน้าพรรคเพื่อไทย
(27 ตุลาคม พ.ศ. 2566 – ปัจจุบัน)
ยังอยู่ในตำแหน่ง